(=^ェ^=) Welcome to the blog of Ms.Sangrawee Songtrai (=^ェ^=)
คลิกที่รูป เพื่อเอาโค้ดรูปนี้ไปแปะ

วันพฤหัสบดีที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2557

Recording Diary 2



Recording Diary 2
Science Experiences Management for Early Childhood
Ms. Jintana     suksamran
September 19, 2557
Group 101 (Thursday)

Time  08.30 - 12.20 PM.

อาจารย์เข้าสู้บทเรียนโดยการที่ให้นักศึกษามองเด็กปฐมวัยแล้วนึกถึงอะไร
         1.             ประสบการณ์
         2.             การเล่น
         3.             การต่อบล็อก
         4.             ความอยากรู้อยากเห็น
         5.             การอบรมเลี้ยงดู
         6.             ความขี้สงสัย
         7.             เรียนรู้ผ่านการเล่น
         8.             การมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อน
         9.             การลองผิดลองถูก
         10.      ความสนุกสนาน
         11.      เรียนรู้ผ่านการสัมผัส
         12.      การเจริญเติบโต
         13.      การเรียนรู้
         14.      พฤติกรรมของเด็ก 
การกล้าแสดงออก ทำให้เกิดความคล่องแคล่วทำให้เด็กเกิดความคิดสร้างสรรค์ 
สรุปเด็กปฐมวัย
         1.             พฤติกรรม  =  พัฒนาการ
         2.             การเรียนรู้  หรือการเล่น
         3.             การอบรมเลี้ยงดู 
พัฒนาการ  คือ  การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางด้านร่างกาย อารมณ์  จิตใจ  สติปัญญา ภาษา 
สติปัญญา แบบได้ 2 อย่างคือ
         1.             ความคิด
1.1          เชิงเหตุผล
1.1.1      คณิตศาสตร์
1.1.2        วิทยาศาสตร์
1.2          เชิงสร้างสรรค์
         2.             การใช้ภาษา 
พัฒนาการ  เปลี่ยนแปลงไปตามลำดับขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง 
พัฒนาการทางสติปัญญา 
         ขั้นที่ 1  การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5   การรับรู้  การซึมซับ
การเรียนรู้  การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
รับรู้  ไม่มีการเปลี่ยนแปลง
เรียนรู้  คือ  การมีชีวิตรอดในสังคม  
พัฒนาการ  บอกความสามารถของเด็ก  เพื่อจัดประสบการณ์ให้สอดคล้องกับความสามารถของเด็ก 
พัฒนาการ  คือ  ความสามารถ  ความต้องการเพื่อทำให้เกิดพัฒนาการของวุฒิภาวะของเด็ก 
         ขั้นที่ 2  วิธีการที่ทำให้เกิดการเรียนรู้  คือ  การเล่น
การเล่น  คือ  การที่เด็กลงมือกระทำด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5  อย่างเป็นทางการ  และไม่เป็นทางการ  ที่สำคัญคือ  เด็กได้มีโอกาสเลือกด้วยตัวเอง  
การจัดการสอน  การออกแบบกิจกรรมให้สอดคล้องกับการเรียนรู้ 
นิยามความหมายของเด็กปฐมวัย 
คือ  เด็กที่มีอายุ  แรกเกิด – 5 ปี  หรือ  11 เดือน  29 วัน 
ดูภาพ 










         1.             การตอกไข่
         2.             การต่อจิ๊กซอ
         3.             การเล่นทราย / ดิน
         4.             การปิดทองฝังลูกนิมิต 
สรุป  วิทยาศาสตร์  คือ  สิ่งที่อยู่รอบๆตัว 
ทักษะที่เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้
         1.             คณิตศาสตร์
         2.             ภาษา 
การเลือกเรื่องที่จะมาสอนเด็ก
        1.             เรื่องนั้นต้องเป็นเรื่องที่เด็กสนใจ
        2.             เรื่องใกล้ตัวเด็ก
        3.             เรื่องที่มีผลกระทบกับตัวเด็ก 
เด็กปฐมวัย  &  การเรียนรู้วิทยาศาสตร์
        -                   วิทยาศาสตร์เป็นยาขมสำหรับเด็กจริงหรือ?
        -                   ถ้าเด็ก ๆ เรียนวิทยาศาสตร์มาตั้งแต่ชั้นอนุบาลจะยากเกินไปไหม?
        -                   ควรจะให้เด็ก ๆ อนุบาลเรียนรู้วิทยาศาสตร์อย่างไร 
วิทยาศาสตร์
        -                   คือ  ความพยายามของมนุษย์ที่จะเรียนรู้และทำความเข้าใจกับสิ่งรอบตัว  และตัวตนของตนเอง
        -                   ความพยายามเช่นนี้ติดตัวของมนุษย์ตั้งแต่แรกเกิด  ซึ่งสะท้อนให้เป็นจากธรรมชาติของเด็กที่มีความอยากรู้อยากเห็น  ช่างสังเกต  และคอยซักถามเกี่ยวกับสิ่งต่างๆที่พวกเขาเจอ  และบางครั้งก็เป็นคำถามที่ยากเกินกว่าที่ผู้ใหญ่จะให้คำตอบ
        -                   การทำความเข้าใจกับสิ่งรอบตัวและตัวตนของตนเอง  โดยการสังเกต  และคอยซักถามเกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ ที่พวกเขาเจอช่วยเชื่อมโยงเซลล์สมองของเด็กโดยเฉพาะเด็กเล็ก ๆ เพราะส่งเสริมให้เด็กได้คิด  เป็นการเตรียมเด็กให้สามารถเรียนรู้ได้มากขึ้นในวัยที่สูงขึ้นได้ 
ถ้าผู้ใหญ่ไม่เข้าใจในธรรมชาติของเด็ก
        -                   ปิดกั้นโอกาสทางการเรียนรู้ของพวกเขาโดยการไม่ให้ความสนใจกับคำถาม
        -                   ไม่ให้ความสนใจกับการค้นพบแบบเด็ก ๆ
        -                   ไม่จัดประสบการณ์เรียนรู้ที่จะส่งเสริมและต่อยอดทักษะและแนวคิดที่ถูกต้องให้กับเด็กอย่างเหมาะสม
   ทบทวนบทเรียน
        -                   เปิดโอกาสทางการเรียนรู้ของพวกเขาโดยกาให้ความสนใจกับคำถาม
        -                   ให้ความสนใจกับการค้นพบแบบเด็ก ๆ
        -                   จัดประสบการณ์เรียนรู้ที่จะส่งเสริมและต่อยอดทักษะและแนวคิดที่ถูกต้องให้กับเด็กอย่างเหมาะสม
        -                   ครูและผู้ปกครองต้องยอมรับในเรื่องจินตนาการที่มีอยู่สูงในเด็กวัยนี้
        -                   ครูต้องแม่นยำในการพัฒนาการของเด็ก  เพื่อที่จะสามารถจัดการเรียนรู้ได้สอดคล้องกับความสามารถของเด็ก 
ท้ายคาบ  อาจารย์ให้นักศึกษาสรุปการเรียนวันนี้โดยการทำ  Mind mapping  โดยมีหัวข้อย่อยดังนี้

         1.             เนื้อหา

         2.             การประยุกต์ใช้

         3.             ทักษะที่ได้

         4.             เทคนิคที่ครูใช้สอน

การบ้าน
        -                   ให้นักศึกษากลับไปหาบทความวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวกับเด็กปฐมวัยมาคนละ 1 หัวข้อ โดยแต่ละคนต้องมีบทความที่ไม่ซ้ำกัน 



                                              




วันเสาร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2557

Recording Diary 1


Recording Diary 1
Science Experiences Management for Early Childhood
Ms. Jintana     suksamran
September 19, 2557
Group 101 (Thursday)

Time  08.30 - 12.20 PM.
สิ่งที่ได้จากการเรียน
อาจารย์ได้แจกแนวการสอน (Course Syllabus) เกี่ยวกับการเรียนวิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ว่ามีแนวการสอนอย่างไร มีการประเมินผลการเรียนรู้ และวิธีการประเมินอย่างไรบ้าง

ผลลัพธ์การเรียนรู้
1.             ด้านคุณธรรม จริยธรรม
-                   มีความซื่อสัตย์ สุจริต เสียสละ มีวินัย ตรงต่อเวลา มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพสิทธิ เคารพกฎระเบียบ ข้อบังคับ รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น มีสัมมาคารวะ และมีจรรยาบรรณในการเป็นครูปฐมวัย
2.             ด้านความรู้
-                   อธิบายหลักการ ความสำคัญ วิทยาศาสตร์ วิเคราะห์การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ รูปแบบการจัดการวิทยาศาสตร์ ออกแบบแผนการจัดประสบการณ์ ประเมินการเรียนรู้สาระและทักษะทางวิทยาศาสตร์
3.             ด้านทักษะทางปัญญา  (ทักษะความสามารถที่ชำนาญทางปัญญา)
-                   คิด วางแผนในการทำงานอย่างเป็นระบบ ประยุกต์ความรู้เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ ประเมินปัญหา สรุปองค์ความรู้จากปัญหา
4.             ด้านทักษะความสามารถระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
-                   ใช้ภาษาในการสื่อสารได้อย่างเหมาะสม ให้ความร่วมมือ ช่วยเหลือ มีความรับผิดชอบ และแสดงความคิดเห็น
5.             ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ  (ภาษาทางคณิตศาสตร์ , ตัวเลข , เทคโนโลยี)
-                    ทักษะการใช้เครื่องมือ สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถใช้เทคโนโลยีสาระสนเทศอย่างประสิทธิภาพ
6.             ด้านการจัดการเรียนรู้
-                   วางแผน ออกแบบปฏิบัติการสอน การวัดและประเมินการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียน เรียนรู้จากประสบการณ์

ประโยชน์ที่ได้รับ
1.               ได้รู้แนวการสอนในแต่ละสัปดาห์ว่าในสัปดาห์นั้นต้องเรียนเกี่ยวกับอะไรบ้าง
2.               ได้รู้แนวการสอนล่วงหน้า ทำให้นักศึกษาได้เตรียมตัวในการเรียนในแต่ละสัปดาห์
3.               ทำให้การสอนบรรลุไปตามแผนการสอนที่วางไว้อย่างมีประสิทธิภาพ

วิธีการสอน                                                        
-                   สอนแบบบรรยาย โดยใช้ใบแนวการสอน (Course Syllabus)  ประกอบกับการสอน

การบ้าน
-                   เชื่อมโยงบล็อกอาจารย์ผู้สอน หน่วยงานสนับสนุน แนวการสอน งานวิจัยด้านคณิตศาสตร์ บทความ สื่อ (เพลง เกม นิทาน แบบฝึกหัด ของเล่น)