(=^ェ^=) Welcome to the blog of Ms.Sangrawee Songtrai (=^ェ^=)
คลิกที่รูป เพื่อเอาโค้ดรูปนี้ไปแปะ

วันจันทร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2557

Recording Diary 5



Recording Diary 5
Science Experiences Management for Early Childhood
Ms. Jintana    Suksamran
September 25, 2557
Group 101 (Thursday)
Time  08.30 - 12.20 PM.

บทความ 
เลขที่ 6,7 (ไม่มา)          
เลขที่ 8 บทความเรื่อง เด็กๆอนุบาลสนุกกับ "สะเต็มศึกษา" ผ่านโครงงานปฐมวัย     Click
เลขที่ 9 บทความเรื่อง โลกของเราอยู่ได้อย่างไร    Click
เลขที่ 10 บทความเรื่อง บ้านฉันเป็นค่ายวิทยาศาสตร์    Click

ความรู้ที่ได้รับ
      วันนี้ทำกิจกรรมโดยอาจารย์ให้กระดาษมา 1 แผ่นโดยให้พับเป็น 4 ช่อง แบ่งกันกับเพื่อน แล้วจากนั้นได้คนละอันแล้วพับครึ่ง โดย อาจารย์ให้วาดรูปที่เป็นความสัมพันธ์กันหน้า หลัง จากนั้นอาจารย์ก็ให้ไม้มาติดที่กระดาษเป็นอันเสร็จ

 อุปกรณ์ที่ทำ
1. กระดาษ
2. ก้าว
3. ไม้
4. ปากกาเคมี
5. สีเมจิ



  วิธีการทำ
1. พับกระดาษและแบ่งออกเป็น 4 ส่วน
2. วาดรูปกระดาษทั้ง 2 ฝั่ง ให้มีความสัมพันธ์กัน
3. นำเทปกาวมาติดไม้เสียบลูกชิ้นด้านในของภาพวาด
4. นำกาวมาติดกระดาษด้านในทั้งสองด้านให้สนิท
5. จากนั้นหมุนแล้วจะเกิดภาพ


ความลับของแสง   (The Secret of Light )
         เรามองเห็นสิ่งต่างๆได้เพราะแสงเป็นคลื่นชนิดหนึ่ง เหมือนคลื่นน้ำในทะเล แต่จะเคลื่อนที่ความยาวคลื่นสั้นมาก แสงเคลื่อนที่ได้เร็ว 300,000 กิโลเมตร/วินาที ซึ่งถ้าเราวิ่งได้เร็วเท่าแสง เราจะวิ่งรอบโลกได้ 7 รอบ/วินาที แสงช่วยให้เรามองเห็นได้ ดังการทดลองนี้
         นำกล่องใบใหญ่ที่มีฝาปิด เจาะรูข้างกล่อง นำของวัตถุมาใส่ในกล่อง (ตุ๊กตาช้าง) แล้วปิดฝากล่อง แล้วมองไปในรูที่ปิดไว้ จะมองไม่เห็นอะไรเลยเพราะภายในกล่องมึดสนิท หลังจากนั้นเปิดฝากล่อง แล้วลองดูใหม่ เราสามารถมองเห็นวัตถุในกล่องได้ จากนั้นเจาะรูอีก 1 รู นำไฟฉายส่องตรงรูที่เจาะใหม่ เราจะสามารถมองเห็นวัตถุในกล่องได้เพราะมีแสงส่องเข้ามาโดนวัตถุ
          สาเหตุที่เรามองเห็นวัตถุได้นั้น นอกจากแสงส่องกระทบกับวัตถุแล้ว ยังมีแสงที่สะท้อนวัตถุเข้าสู่ตา เราจึงมองเห็นวัตถุได้ ดังนั้น ตาของเราคือจอสำหรับแสงที่สะท้อนมาจากวัตถุนั้นเอง
          ลักษณะการเดินทางของแสงเป็นเส้นตรง วัตถุบนโลกที่แสงตกกระทบมี 3 แบบ คือ
1.            วัตถุโปร่งแสง
2.            วัตถุโปร่งใส
3.            วัตถุทึบแสง

การนำไปใช้
1.สามารถนำเทคนิคที่อาจารย์สอนเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ไปปรับใช้กับเด็กในอนาคตและปรับใช้กับการพัฒนาการของเด็กที่เหมาะกับวัย
2.สามารถนำความรู้ที่ได้จากอาจารย์ เกี่ยวกับการพูดหน้าชั้นเรียน การอ่านบทความจะต้องพูดชัดเจน เป็นหลักการ ควรอ้างอิงชื่อผู้แต่งและบอกที่มาให้ละเอียด

ประเมินตัวเอง
-วันนี้ตั้งใจเตรียมความพร้อมมาเล่าบทความให้เพื่อนฟังและตั้งใจเรียนและฟังเวลาอาจารย์สอน คุยกับเพื่อนเล็กน้อย
ประเมินเพื่อน
- เพื่อนๆไม่ค่อยฟังเวลาอาจารย์สอนเท่าไหร่ เพราะว่าเตรียมการจะพูดบทความหน้าชั้นเรียนและเกิดอาการง่วง เป็นพักๆ
ประเมินอาจารย์
- วันนี้อาจารย์แนะนำการพูดบทความว่าควรพูดแบบไหนที่ถูกวิธีและสอนเทคนิคการสอนที่ชัดเจน



อื่นๆ                        อื่นๆ                          อื่นๆ


วันอาทิตย์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2557



 สรุปบทความวิทยาศาสตร์เรื่อง เด็กๆอนุบาลสนุกกับ สะเต็มศึกษา ผ่านโครงงานวิทยาศาสตร์ 

         สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในฐานะองค์กรหลักของชาติ ได้รับมอบหมายให้จัดทำและพัฒนาหลักสูตร สื่อ นวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีในทุกระดับการศึกษาให้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลง หนึ่งในแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องในศตวรรษที่ 21 นี้ สสวท. ได้ผลักดันและจัดการประชุมวิชาการ สะเต็มศึกษา พัฒนาเด็กไทยและ สสวท.ก็ได้นำเสนอผลงานวิชาการที่เน้นการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาอีกด้วย ซึ่งจะส่งผลให้เด็กปฐมวัยได้รู้จักการแก้ปัญหาและและการสืบเสาะหาความรู้ด้วยประสบการณ์อย่างเหมาะสม ในด้าน ดร.พรพรรณ ไวทยางกูร ผู้อำนวยการ สสวท. ได้กล่าวถึงแนวคิดในเรื่องสะเต็มศึกษานั้น เป็นกระบวนการเรียนรู้ การสร้างสรรค์ผลงานหรือชิ้นงาน การแก้ปัญหา การวิเคราะห์ โดยนำสิ่งที่เรียนรู้ในโรงเรียนไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตประจำวันได้ ส่วนวิธีการจัดกิจกรรมในการเรียนรู้และให้เด็กได้เห็นคุณค่าของการเรียนรู้มีแนวคิดหลัก 5 ข้อ คือ
1.             ครูต้องเน้นการบูรณาการ
2.             ครูต้องช่วยให้นักเรียนมีความเชื่อมโยงระหว่างเนื้อหาในวิชาที่กำลังเรียน
3.             เน้นการพัฒนาทักษะ
4.             ท้าทายความคิดของผู้เรียน
5.             เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงความเข้าใจและความคิดเห็นที่เกี่ยวกับเนื้อหาที่เรียนรู้ การบูรณาการกิจกรรมการเรียนรู้เข้ากับชีวิตประจำวัน


         บทความฉบับเต็ม    Click


วันเสาร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2557

Recording Diary 4


Recording Diary 4
Science Experiences Management for Early Childhood
Ms. Jintana     suksamran
September 19, 2557
Group 101 (Thursday)

Time  08.30 - 12.20 PM.







การนำไปใช้
1.สามารถนำเทคนิคที่อาจารย์สอนเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ไปปรับใช้กับเด็กในอนาคตและปรับใช้กับการพัฒนาการของเด็กที่เหมาะกับวัย
2.สามารถนำความรู้ที่ได้จากอาจารย์ เกี่ยวกับการพูดหน้าชั้นเรียน การอ่านบทความจะต้องพูดชัดเจน เป็นหลักการ ควรอ้างอิงชื่อผู้แต่งและบอกที่มาให้ละเอียด

ประเมินตัวเอง
-วันนี้ตั้งใจเตรียมความพร้อมมาเล่าบทความให้เพื่อนฟังและตั้งใจเรียนและฟังเวลาอาจารย์สอน คุยกับเพื่อนเล็กน้อย
ประเมินเพื่อน
- เพื่อนๆไม่ค่อยฟังเวลาอาจารย์สอนเท่าไหร่ เพราะว่าเตรียมการจะพูดบทความหน้าชั้นเรียนและเกิดอาการง่วง เป็นพักๆ
ประเมินอาจารย์
- วันนี้อาจารย์แนะนำการพูดบทความว่าควรพูดแบบไหนที่ถูกวิธีและสอนเทคนิคการสอนที่ชัดเจน



                                               


วันอังคารที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2557

Recording Diary 3


Recording Diary 3
Science Experiences Management for Early Childhood
Ms. Jintana     suksamran
September 19, 2557
Group 101 (Thursday)
Time  08.30 - 12.20 PM.

 รูปแบบการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
               การเรียนรู้ คือ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม  มนุษย์เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเพื่อดำรงชีวิตการเรียนรู้ของเด็ก คือ การลงมือกระทำซึ่งเรียกว่าการเล่นแบบไม่เป็นทางการที่จะทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ เปลี่ยนแปลงพฤติกรรม เครื่องมือที่เด็กใช้ในการเล่นคือ ประสาทสัมผัสทั้ง 5  ลงมือกระทำกับวัตถุอยากเป็นทางการและไม่เป็นทาการ

เด็กมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมคือ  การเรียนรู้เพื่อมีชีวิตรอดอยู่ในสังคม

เด็ก
-                -   การอบรมเลี้ยงดู
-                -   การเรียนรู้ของเด็ก
-                -   เป็นเครื่องมือ เป็นวิธีการของเด็กคือ  การกระทำ
วิธีการ = การลงมือกระทำ
เครื่องมือ = ประสาทสัมผัสทั้ง 5

คุณลักษณะตามวัยของเด็กอายุ 3 – 5 ปี  ที่กำหนดไว้ในหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.. 2546  มีดังนี้
    
เด็กอายุ  3  ปี
เด็กอายุ  4  ปี
                   เด็กอายุ  5  ปี
พัฒนาการด้านร่างกาย
   ·        วิ่งและหยุดโดยไม่ล้ม
   ·        รับลูกบอลด้วยมือและลำตัว
   ·        เดินขึ้นบันไดสลับเท้าได้
   ·        เขียนรูปวงกลมตามแบบได้
   ·        ใช้กรรไกรมือเดียวได้
   ·        วาดและระบายสีอิสระได้

พัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจ
   ·        แสดงอารมณ์ตามความรู้สึก
   ·        ชอบที่จะทำให้ผู้ใหญ่พอใจและได้คำชม
   ·        กลัวการพลัดจากผู้เลี้ยงดูใกล้ชิดน้อยลง

พัฒนาการด้านสังคม
   ·        รับประทานอาหารได้ด้วยตนเอง
   ·        ชอบเล่นแบบคู่ขนาน (เล่นของเล่นชนิดเดียวกันแต่ต่างคนต่างเล่น)
   ·        เล่นสมมติได้
   ·        รู้จักรอคอย
พัฒนาการด้านร่างกาย
   ·        กระโดดขาเดียวอยู่กับที่ได้
   ·        รับลูกบอลได้ด้วยมือทั้งสอง
   ·        เดินขึ้นลงบันไดสลับเท้าได้
   ·        เขียนรูปสีเหลี่ยมตามแบบได้
   ·        ตัดกระดาษเป็นเส้นตรงได้
   ·        กระฉับการเฉยไม่ชอบอยู่เฉย

พัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจ
   ·        แสดงออกทางอารมณ์ได้เหมาะสมกับบางสถานการณ์
   ·        เริ่มรู้จักชื่นชมความสามารถและผลงานของตนเองและผู้อื่น
   ·        ชอบท้าทายผู้ใหญ่
   ·        ต้องการให้มีคนฟังคนสนใจ

พัฒนาการด้านสังคม
   ·        แต่งตัวได้ด้วยตนเอง ไปห้องส้วมได้เอง
   ·        เล่นร่วมกับผู้อื่นได้ รอคอยตามลำดับก่อน – หลัง
   ·        แบ่งของให้คนอื่น
   ·        เก็บขอบเล่นเข้าที่ได้
พัฒนาการด้านร่างกาย
   ·        กระโดดขาเดียวไปข้างหน้าอย่างต่อเนื่องได้
   ·        รับลูกบอลที่กระดอนขึ้นจากพื้นได้ด้วยมือทั้งสอง
   ·        เดินขึ้นลงบันไดสลับเท้าได้อย่างคล่องแคล่ว
   ·        เขียนรูปสามเหลี่ยมตามแบบได้
   ·        ตัดกระดาษตามแนวเส้นโค้งที่กำหนด
   ·        ใช้กล้ามเนื้อเล็กได้ดี เช่น ติดกระดุม  ผูกเชือกรองเท้า ฯลฯ
   ·        ยืดตัว  คล่องแคล่ว

พัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจ
   ·        แสดงอารมณ์ได้สอดคล้องกับสถานการณ์อย่างเหมาะสม
   ·        ชื่นชมความสามารถและผลงานของตนเองและผู้อื่น
   ·        ยึดตนเองเป็นศูนย์กลางน้องลง
  
พัฒนาการด้านสังคม
   ·        ปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ด้วยตนเอง
   ·        เล่นหรือทำงานโดยมีจุดมุ่งหมายร่วมกับผู้อื่นได้
   ·        พบผู้ใหญ่  รู้จักไหว้  ทำความเคารพ
   ·        รู้จักขอบคุณ  เมื่อรับของจากผู้ใหญ่
   ·        รับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมาย
เด็กอายุ  3  ปี
เด็กอายุ  4  ปี
เด็กอายุ  5  ปี
พัฒนาการด้านสติปัญญา
   ·        สำรวจสิ่งต่าง ๆ ที่เหมือนกันและต่างกันได้
   ·        บอกชื่อของตนเองได้
   ·        ขอความช่วยเหลือเมื่อมีปัญหา
   ·        สนทนาโต้ตอบ / เล่าเรื่องด้วยประโยคสั้น ๆ ได้
   ·        สนใจนิทานและเรื่องราวต่าง ๆ
   ·        ร้องเพลง ท่องคำกลอน  คำคล้องจองง่าย ๆ และแสดงท่าทางเลียนแบบได้
   ·        รู้จักใช้คำถาม “อะไร
   ·        สร้างผลงานตามความคิดของตนเองอย่างง่าย ๆ
   ·        อยากรู้อยากเห็นทุกอย่างรอบตัว
พัฒนาการด้านสติปัญญา
   ·        จำแนกสิ่งต่าง ๆ ด้วยประสาทสัมผัสทั้งห้าได้
   ·        บอกชื่อและนามสกุลของตนเองได้
   ·        พยายามแก้ปัญหาด้วยตนเองหลังจากได้รับคำชี้แนะ
   ·        สนทนาโต้ตอบ / เล่าเรื่องเป็นประโยคอย่างต่อเนื่อง
   ·        สร้างผลงานตามความคิดของตนเองโดยมีรายละเอียดเพิ่มขึ้น
·        รู้จักใช้คำถาม “ทำไม

พัฒฒนาการด้านสติปัญญา

   ·        บอกความแตกต่างของกลิ่น สี เสียง รส รูปร่าง  จำแนกและจัดหมวดหมู่สิ่งของได้
   ·        บอกชื่อ  นามสกุล  และอายุของตนเองได้
   ·        พยายามหาวิธีแก้ปัญหาด้วยตนเอง
   ·        สนทนาโต้ตอบ / เล่าเป็นเรื่องราวได้
   ·        สร้างผลงานตามความคิดของตนเองโดยมีรายละเอียดเพิ่มขึ้นและแปลกใหม่
   ·        รู้จักใช้คำถาม “ทำไม”      “อย่างไร
   ·        เริ่มเข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรม
   ·        นับสิ่งต่าง ๆ จำนวนมากกว่า  10  ได้

ทฤษฎีการเรียนรู้
1. พาฟลอฟ       >>  ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคของพาฟลอฟ 
2. วัตสัน             >> ความรู้สึกบางอย่างมีมาตั้งแต้กำเนิด เช่น ความรัก, ความกลัว, ความโกรธ 

3. ดิวอี้                >> เด็กเรียนรู้โดยการกระทำ
4. สกินเนอร์       >> การเสริมแรง 
5. เปสตาลอชชี่  >> การอบรมเลี้ยงดู, การยอมรับความแตกต่างของเด็ก 
6. เฟรอเบล        >> การส่งเสริมพัฒนาการตาธรรมชาติของเด็กด้วยการกระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์อย่างเสร๊ 
7. เอลคายน์       >>  เด็กมีโอกาสเล่น และเลือกกิจกรรมอย่างเสรี 

ธรรมชาติของเด็กปฐมวัย 3-5 ปี
1. ชอบที่จะทำให้ผู้ใหญ่พอใจ                            6. ชอบถาม "ทำไม" ตลอดเวลา
2. ช่วยตนเองได้                                                    7. อยากรู้ อยากเห็นสิ่งรอบตัว
3. ชอบเล่นแบบคู่ขนาน                                       8. สนใจนิทาน และเรื่องราวต่างๆ 
4. พูดประโยคยาวขึ้น                                            9. พอใจคนที่ตามใจ
5. ร้องเพลงง่ายๆ และทำท่าทางเลียนแบบ     10. มีช่วงความสนใจสั้น (5-10 นาที)

ประเมินตนเอง
   วันนี้ไม่มีสมาธิในการเรียน เนื่องจากรอบเดือนมา จึงขออนุญาตอาจารย์ออกไปข้างนอก และรีบกลับมาเพื่อจดบันทึก  ถึงจะไม่ทันเพื่อนในช่วงแรกๆ แต่ก็สามารถสรุปการเรียนได้ดีในรูปแบบ Mind Map ได้
ประเมินเพื่อน
   
เพื่อนทุกคนร่วมกันแสดงความคิดเห็น แต่งกายสุภาพเรียบร้อย  เข้าเรียนตรงเวลา  แต่ก็ยังมีเพื่อนบางส่วนที่มาเรียนสาย  
ประเมินอาจารย์ 
    อาจารย์ใช้เทคนิคการสอนโดยใช้คำถามปลายเปิด ให้นักศึกษาได้ใช้ทักษะการคิดวิเคราะห์ และให้ความสนใจกับคำตอบของนักศึกษาทุกคน การส่งเสริมทักษะทางด้านภาษาอังกฤษ การจับประเด็นความรู้ให้ถูกต้องและแม่นยำทฤษฏีการเรียนรู้  อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา และแต่งกายสุภาพเรียบร้อยมากค่ะ