(=^ェ^=) Welcome to the blog of Ms.Sangrawee Songtrai (=^ェ^=)
คลิกที่รูป เพื่อเอาโค้ดรูปนี้ไปแปะ

วันจันทร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2557

Recording Diary 5



Recording Diary 5
Science Experiences Management for Early Childhood
Ms. Jintana    Suksamran
September 25, 2557
Group 101 (Thursday)
Time  08.30 - 12.20 PM.

บทความ 
เลขที่ 6,7 (ไม่มา)          
เลขที่ 8 บทความเรื่อง เด็กๆอนุบาลสนุกกับ "สะเต็มศึกษา" ผ่านโครงงานปฐมวัย     Click
เลขที่ 9 บทความเรื่อง โลกของเราอยู่ได้อย่างไร    Click
เลขที่ 10 บทความเรื่อง บ้านฉันเป็นค่ายวิทยาศาสตร์    Click

ความรู้ที่ได้รับ
      วันนี้ทำกิจกรรมโดยอาจารย์ให้กระดาษมา 1 แผ่นโดยให้พับเป็น 4 ช่อง แบ่งกันกับเพื่อน แล้วจากนั้นได้คนละอันแล้วพับครึ่ง โดย อาจารย์ให้วาดรูปที่เป็นความสัมพันธ์กันหน้า หลัง จากนั้นอาจารย์ก็ให้ไม้มาติดที่กระดาษเป็นอันเสร็จ

 อุปกรณ์ที่ทำ
1. กระดาษ
2. ก้าว
3. ไม้
4. ปากกาเคมี
5. สีเมจิ



  วิธีการทำ
1. พับกระดาษและแบ่งออกเป็น 4 ส่วน
2. วาดรูปกระดาษทั้ง 2 ฝั่ง ให้มีความสัมพันธ์กัน
3. นำเทปกาวมาติดไม้เสียบลูกชิ้นด้านในของภาพวาด
4. นำกาวมาติดกระดาษด้านในทั้งสองด้านให้สนิท
5. จากนั้นหมุนแล้วจะเกิดภาพ


ความลับของแสง   (The Secret of Light )
         เรามองเห็นสิ่งต่างๆได้เพราะแสงเป็นคลื่นชนิดหนึ่ง เหมือนคลื่นน้ำในทะเล แต่จะเคลื่อนที่ความยาวคลื่นสั้นมาก แสงเคลื่อนที่ได้เร็ว 300,000 กิโลเมตร/วินาที ซึ่งถ้าเราวิ่งได้เร็วเท่าแสง เราจะวิ่งรอบโลกได้ 7 รอบ/วินาที แสงช่วยให้เรามองเห็นได้ ดังการทดลองนี้
         นำกล่องใบใหญ่ที่มีฝาปิด เจาะรูข้างกล่อง นำของวัตถุมาใส่ในกล่อง (ตุ๊กตาช้าง) แล้วปิดฝากล่อง แล้วมองไปในรูที่ปิดไว้ จะมองไม่เห็นอะไรเลยเพราะภายในกล่องมึดสนิท หลังจากนั้นเปิดฝากล่อง แล้วลองดูใหม่ เราสามารถมองเห็นวัตถุในกล่องได้ จากนั้นเจาะรูอีก 1 รู นำไฟฉายส่องตรงรูที่เจาะใหม่ เราจะสามารถมองเห็นวัตถุในกล่องได้เพราะมีแสงส่องเข้ามาโดนวัตถุ
          สาเหตุที่เรามองเห็นวัตถุได้นั้น นอกจากแสงส่องกระทบกับวัตถุแล้ว ยังมีแสงที่สะท้อนวัตถุเข้าสู่ตา เราจึงมองเห็นวัตถุได้ ดังนั้น ตาของเราคือจอสำหรับแสงที่สะท้อนมาจากวัตถุนั้นเอง
          ลักษณะการเดินทางของแสงเป็นเส้นตรง วัตถุบนโลกที่แสงตกกระทบมี 3 แบบ คือ
1.            วัตถุโปร่งแสง
2.            วัตถุโปร่งใส
3.            วัตถุทึบแสง

การนำไปใช้
1.สามารถนำเทคนิคที่อาจารย์สอนเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ไปปรับใช้กับเด็กในอนาคตและปรับใช้กับการพัฒนาการของเด็กที่เหมาะกับวัย
2.สามารถนำความรู้ที่ได้จากอาจารย์ เกี่ยวกับการพูดหน้าชั้นเรียน การอ่านบทความจะต้องพูดชัดเจน เป็นหลักการ ควรอ้างอิงชื่อผู้แต่งและบอกที่มาให้ละเอียด

ประเมินตัวเอง
-วันนี้ตั้งใจเตรียมความพร้อมมาเล่าบทความให้เพื่อนฟังและตั้งใจเรียนและฟังเวลาอาจารย์สอน คุยกับเพื่อนเล็กน้อย
ประเมินเพื่อน
- เพื่อนๆไม่ค่อยฟังเวลาอาจารย์สอนเท่าไหร่ เพราะว่าเตรียมการจะพูดบทความหน้าชั้นเรียนและเกิดอาการง่วง เป็นพักๆ
ประเมินอาจารย์
- วันนี้อาจารย์แนะนำการพูดบทความว่าควรพูดแบบไหนที่ถูกวิธีและสอนเทคนิคการสอนที่ชัดเจน



อื่นๆ                        อื่นๆ                          อื่นๆ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น