(=^ェ^=) Welcome to the blog of Ms.Sangrawee Songtrai (=^ェ^=)
คลิกที่รูป เพื่อเอาโค้ดรูปนี้ไปแปะ

วันอาทิตย์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

Recording Diary 15

Recording Diary 15
Science Experiences Management for Early Childhood
Ms. Jintana    Suksamran
November 27, 2557
Group 101 (Thursday)
Time  08.30 - 12.20 PM.

content (เนื้อหา)
วันนี้ให้นักศึกษาออกมานำเสนอ บทวิจัย และ VDO เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
วิจัยเรื่องที่ 1 การสร้างชุดกิจกรรม เพื่อทักษะกระบวนการทางวิทยาสาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัยทางวิทยาสาสตร์ ที่ได้รับจากวิจัยเรื่องนี้คือ การสังเกต การจำแนก การวัด และการหามิติสัมพันธ์
            วิจัยเรื่องที่ 2 ผลการจัดประสบการณ์ หน่วยเน้นวิยาสาสตร์นอกชั้นเรียน
ทักษะทางวิทยาสาสตร์ ที่ได้รับจากวิจัยเรื่องนี้คือ การสังเกต การประมาณ และการเปลี่ยนแปลง
            วิจัยเรื่องที่ 3 การคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
ทักษะทางวิทยาสาสตร์ ที่ได้รับจากวิจัยเรื่องนี้คือ การจำแนก การจัดประเภท และอนุกรม
            วิจัยเรื่องที่ 4 ผลของกิจกรรมการทดลอง (กิจกรรมเกี่ยวกับพืชต้องการแสงแดด)   
ทักษะทางวิทยาสาสตร์ ที่ได้รับจากวิจัยเรื่องนี้คือ การสังเกต การจำแนก การวัด การสื่อความหมาย การหามิติสัมพันธ์  และการลงความเห็น

การนำเสนอโทรทัศน์ครู
5.   เรื่อง เสียงมาจากไหน           
6.   เรื่อง สอนวิทย์ คิดสนุกกับเด็กปฐมวัย
7.   เรื่อง เรียนวิทยาศาสตร์สนุก
8.  เรื่อง หน่วยไฟ
9.  เรื่อง  -
10. เรื่อง  ขวดปั๊มและลิปเทียน
11.  บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เรื่อง สีของกะหล่ำปรี  
12.  บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เรื่อง พลังจิตคิดไม่ซื่อ
13.  นมสีจากน้ำยาล้างจานสำหรับเด็กปฐมวัย
14.  บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เรื่อง  ทะเลฟองสีรุ้ง
15.  สนุกคิดวิทย์ทดลอง
16.  บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เรื่อง ทอนาโดมหาภัย
17.  บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เรื่อง  ความลับของใบบัว
18.  การทดลองความแข็งของวัตถุ

Teaching methods (วิธีการสอน)
          - การเรียนรู้ด้วยตนเอง
          - การสรุปความรู้ด้วยเครื่องมือ
          - การนำเสนอ
          - การสอนโดยใช้คำถาม
          - การสอนแบบอภิปราย
          - เปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงความคิดเห็น และฝึกการกล้าแสดงออกจริง
          - การสอนแบบกระบวนการคิด

          - การสอนแบบแก้ปัญหา

      Benefits (ประโยชน์ที่ได้รับ)
1. การใช้คำสำคัญเพื่อหาบท วิจัยได้ง่ายขั้น
2. การที่เราได้ออกไปนำเสนอหน้าชั้นเรียน ทำให้เราฝึกความกล้าแสดงออกมากขึ้น 
3. การนำวิจัยมาเป็นแบบอย่างในการวิจัยชั้นเรียนในอนาคต
4.  การนำเครื่องมอการวิจัยไปใช้ในการจัดประสบการณ์ให้กับเด็กปฐมวัย

      Evaluation (การประเมินผล)
ประเมินตนเอง  
แต่งกายถูกระเบียบ เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังเพื่อนๆและมีการจดบันทึกระหว่างเรียน
ประเมินเพื่อน
เพื่อนทุกคนตั้งใจฟังการนำเสนอบทวิจัยของเพื่อน แต่จะมีข้อผิดพลาดบ้าง อาจารย์ก็ได้ให้คำแนะนำ ไปในส่วนของเนื้อหาวิจัย เราควรที่จะจับประเด็นที่สำคัญๆมาเพื่อที่จะง่ายต่อการสรุปและเข้าใจง่ายมาก ขึ้นในตัวของงานต่างๆ และเพื่อนๆ มีการตอบคำถามในชั้นเรียน อย่างดี
ประเมินอาจารย์
หลังจากที่เพื่อนได้นำเสนอบทวิจัย อาจารย์ก็ให้คำแนะนำในการหาวิจัยและการสรุปประเด็นที่สำคัญมา และอาจารย์ก็ให้นักศึกษาได้เปิดโอกาสหาความรู้ และมีการทดลองลงมือปฏิบัติจริง มีการร่วมทำกิจกรรมกับนักศึกษา และอธิบายให้นักศึกษาได้เข้าใจได้ง่ายขึ้น  และพูดซ้ำๆเพื่อให้นักศึกษาจดจำเนื้อหาได้ดียิ่งขึ้น

สรุปจากการดูVDOบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ตอน  ปาฏิหาริย์เทียนลอยได้


บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย  ตอน  ปาฏิหาริย์เทียนลอยได้ปาฏิหาริย์เทียนลอยได้

โดย น้องจากโรงเรียนเซนโยเซฟระยอง


ก่อนที่จะทำการทดลอง เราจะถามน้อง ๆ ว่า น้อง ๆ รู้จักเทียนกันไหม เทียนเป็นวงกลมแล้วเป็นยังไงอีก แล้วน้อง ๆ รู้หรือเปล่าว่าเทียนนั้นเอาไว้ทำอะไร หลังจากนั้นก็เอาเทียนไขขึ้นมาให้น้อง ๆ ดู แล้วถามน้อง ๆ ว่า ถ้าเราจะจุดเจ้าเทียนนี้เราจะใช้อะไรจุดดีนะ แล้วทำไมต้องใช้ไฟแช็ก ถ้าเราไม่ใช้ไฟแช็กเราจะใช้ไม้ขีดไฟจุดยังไง หลังจากนั้นเราจะมาทำการทดลอง



อุกปรณ์
1.            เทียนไข
      2.            ไม้ขีดไฟ
3.            แก้วน้ำ
4.            จาน
5.            น้ำแดง

ขั้นตอนการทดลอง
            วิธีที่ 1 จุดเทียนแล้วเอาแก้วคลอบเทียนไว้ เทียนจะดับ เพราะว่า เวลาที่เราจุดเทียน เราอาศัยออกซิเจนในอากาศในการจุดไฟ แต่พอเราเอาแก้วคลอบลงไป ไฟก็จะเผาไหม้ออกซิเจน และอากาศที่อยู่ภายในแก้ว ทำให้ไฟดับนั่นเอง
            วิธีที่ 2 เอาน้ำแดงใส่ลงไปในจาน แล้วจุดเทียนวางไว้บนจาน เอาแก้วคลอบเทียน ไฟก็จะดับดับเทียนจะลอยขึ้นโดยที่น้ำจะเข้าไปแทนที่อากาศ

สรุปการทดลอง

            อากาศทำให้ไฟติดได้ แล้วพอเราเอาแก้วคลอบเทียนไฟก็เลยดับ เป็นเพราะ ไฟเผาออกซิเจนในอากาศในแก้วให้หมดลงไฟ ไฟเลยดับนั่นเอง เมื่ออากาศในแก้วน้อยแรงดันอากาศในแก้วจะลดลง ซึ่งอากาศข้างนอกมีแรงดันที่มากกว่า เลยดับน้ำที่อยู่นอกแก้ว เข้าไปอยู่ในแก้วนั่นเอง เทียนก็เลยลอยได้ สาเหตุ ที่แรงดันอากาศภายในแก้วลดลง เนื่องมาจากอากาศส่วนหนึ่งภายในแก้วถูกใช้ในการเผาไหมของเทียนไขทำให้ปริมาณอากาศภายในแก้วลดลง ดังนั้น แรงดันอากาศภายในแก้วจึงลดลงด้วย อากาศที่ใช้ในการเผาไหม้ของเทียนไข ก็คือ ก๊าซออกซิเจนที่พวกเราใช้ในการหายใจนั่นเอง ออกซิเจนหรืออากาศที่มนุษย์ใช้หายใจเป็นก๊าซสำคัญที่จะทำให้ไฟติดได้ ดังนั้น เมื่อต้องการดับไฟเมื่อขณะเกิดไฟไหม้ นักดับเพลิงจะใช้อีกวิธีหนึ่ง คือ การลดปริมาณของออกซิเจนในบริเวณที่เกิดเหตุโดยการฉีดน้ำหรือสารเคมี เช่น ไนโตรเจน หรือ คาร์บอนไดรออกไซน์ เมื่อไฟไม่มีออกซิเจนในการเผาไหม้ไฟก็จะดับลงในที่สุด

วันจันทร์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

Recording Diary 14

Recording Diary 14
Science Experiences Management for Early Childhood
Ms. Jintana    Suksamran
November 20, 2557
Group 101 (Thursday)
Time  08.30 - 12.20 PM.

content (เนื้อหา)
           ส่งสิ่งประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์ แล้วแยกตามหมวดหมู่ ดังนี้ แสง เสียง ลม น้ำ พลังงาน สื่อตามมุม

เรื่อง ลม



เรื่อง เสียง

 


เรื่อง พลังงาน

 


เรื่อง แสง



เรื่อง น้ำ



สื่อเข้ามุม

 


นำเสนอบทความ

วิจัยเรื่องที่ 1 การพัฒนากระบวนการทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานของเด็กปฐมวัยโดยใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้  /  ผู้วิจัย ณัฐชุดา   สาครเจริญ  /  ผู้นำเสนอบทวิจัย น.ส.ชนากานต์   มีดวง

วิจัยเรื่องที่ 2 ผลของการบันทึกประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ที่มีผลต่อความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัย   /  ผู้วิจัย พีระพร   รัตนาเกียรติ์  /  ผู้นำเสนอบทวิจัย น.ส.สุธิดา   คุณโตนด
      
วิจัยเรื่องที่ 3 ผลของจัดประสบการณ์โดยใช้กระบวนการเสาะหาความรู้เพื่อพัฒนาทักษะการจำแนกของเด็กปฐมวัย   /   ผู้นำเสนอบทวิจัย น.ส.สุดารัตน์   สุทธิผล



การทำขนมวาฟเฟิล



ส่วนผสมและอุปกรณ์


 

ส่วนผสม
1. แป้ง   200   กรัม
2. น้ำ     120   กรัม
3. ไข่ไก่   1   ฟอง
4. เนย

อุปกรณ์
1. ถ้วยผสม
2. ที่ตีไข่
3. ช้อน
4. พิมพ์วาฟเฟิล
5. จานสำหรับใส่วัฟเฟิล




ขั้นตอนการทำวาฟเฟิล
1. นำไข่ไก่ น้ำและแป้งใส่ภาชนะผสม แล้วตีส่วนผสมให้เข้ากัน
2. หยอดแป้งลงบนพิมพ์วาฟเฟิลที่ทาเลยและร้อนดีแล้วจนเต็มพิมพ์
3. หลังจากนั้น อบประมาณ 3 4 นาที

Teaching methods (วิธีการสอน)
          - การเรียนรู้ด้วยตนเอง
          - การสอนแบบอภิปราย
          - การนำเสนอ
          - การสอนโดยใช้คำถาม
          - การสรุปความรู้ด้วยเครื่องมือ
          - ลงมือปฏิบัติ
          การสอนแบบกระบวนการคิด
          - การสอนแบบแก้ปัญหา
          - เปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงความคิดเห็น และฝึกการกล้าแสดงออกจริง

Benefits (ประโยชน์ที่ได้รับ)
1. ได้ฝึกการแสดงความคิดเห็น และฝึกการเค้ารพความคิดเห็นของผู้อื่น
2. สามารถนำไปสอนเด็กได้เนื้อจากเป็นกิจกรรมที่ลงมือปฏิบัติเอง จำทำให้เด็กมีความสนใจและเกิดการเรียนรู้มากขึ้น
3. สามารถนำความรู้ของบทวิจัยไปปรับใช้กับการสอนในอนาคตได้
4. ได้รู้จักการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม และ ได้รู้จักการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ

Evaluation (การประเมินผล)
ประเมินตนเอง
เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ ทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อนๆ ตั้งใจเรียน จดบันทึกเนื้อหาโดยสรุป ร่วมทำกิจกรรมกับเพื่อนอย่างสนุกสนาน
ประเมินเพื่อน
เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ มีความร่วมมือในการเรียนรู้และทดลอง และจดบันทึกเนื้อหาโดยสรุป มีความสนใจในการสอนของอาจารย์ และร่วมกันกิจกรรมกันอย่างสนุกสนาน
ประเมินผู้สอน
เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ให้ข้อเสนอแนะในการ และแนวทางในการจัดกิจกรรมให้กับเด็ก มีการสอนที่สนุกสนานเป็นกันเอง ไม่ดูเครียดจนเกินไป มีความพร้อมด้านสื่อการสอนต่างๆมาก  


วันอาทิตย์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

Recording Diary 13

Recording Diary 13
Science Experiences Management for Early Childhood
Ms. Jintana    Suksamran
November 13, 2557
Group 101 (Thursday)
Time  08.30 - 12.20 PM.

content (เนื้อหา)
       สรุป หลังจากการจัดกิจกรรมเกมการศึกษากับเด็กทำให้เด็กเกิดทักษะการสังเกตที่ดีขึ้น

       สรุป เป็นการเล่านิทานเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ให้เด็กฟัง เมื่อเด็กๆได้ฟังนิทานจบแล้ว ครูก็จะให้เด็กทำการทดลองตามนิทานที่เด็กได้ฟังมา

       สรุป  นำเด็กปฐมวัยมาทำการทดสอบด้วยแบบทดสอบ 8 สัปดาห์ เมื่อทดลองเสร็จ นำแบบทดสอบกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย นำมาทดสอบซ้ำอีกครั้งแล้วนำข้อมูลที่ได้จากการทดสอบไปวิเคราะห์ข้อมูล

       สรุป เมื่อเด็กไดทำกิจกรรมเด็กทำให้เด็กมีทักษะการสังเกต การจำแนก มิติสัมพันธ์ และทักษะการลงความเห็นมากขึ้น

วิจัยเรื่องที่ 5 กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์แบบเน้นกระบวนการ
       สรุป เปิดโอกาสให้เด็กลงมือปฏิบัติ โดยให้เด็กทำแป้งโด แล้วนำแป้งโดมาเล่น ซึ่งตรงกับการสอนแบบ learning by doing

       สรุป จากการทำการวิจัย จะพบว่าเด็กมีความคิดวิจารณญาณมากขึ้นกว่าก่อนจัดกิจกรรม

       สรุป เป็นการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์แก่เด็กปฐมวัย โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยเมื่อเด็กได้ทำกิจกรรมแล้ว เด็กมีความสามารถด้านการคิดอย่างมีเหตุผลแตกต่างกัน

Teaching methods (วิธีการสอน)

1. ให้เด็กสมารถแก้ปัญหา

2. การใช้คำถามปลายเปิด

3. สรุปรวบยอด

4. สอนให้เด็กเกิดทักษะในการคิดวิเคาระห์

5. ให้เด็กได้กล้าแสดง

6. การนำเสนอ

Benefits (ประโยชน์ที่ได้รับ)
1.   สามารถนำกิจกรรมจากการวิจัยมาต่อยอดเพื่อจัดกิจกรรมเสริมความรู้กับเด็กปฐมวัยได้
2.   สามารถนำสิ่งของเหลือใช้รอบตัวมาใช้ในการประดิษฐ์ หรือทดลองในเชิงวิทยาศาสตร์ได้
3.   สามารถนำความรู้ในการจัดกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์มาสอนเด็กได้อย่างหลากหลาย
4.   การอ่านวิจัยเยอะ จะทำให้เรามีประสบการณ์และความรู้เกี่ยวกับปัญหาของเด็กมากขึ้น แล้วนำมาซึ่งการแก้ปัญหาในอนาคตได้

Evaluation (การประเมินผล)
ประเมินตนเอง  
มาเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ ร่วมตอบคำถามและแสดงความคิดเห็นกับอาจารย์ และมีการจดบันทึกเนื้อหา
ประเมินเพื่อน  
เพื่อนส่วนใหญ่เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ  และมีการแสดงความคิดเห็นกับอาจารย์
ประเมินอาจารย์  

อาจารย์มาสอนตรงเวลา แต่กายถูกระเบียบ พูดชัดถ้อยชัดคำ อธิบายเนื้อหาและร่วมหาคำตอบไปพร้อมกับนักศึกษา และสอนให้นักศึกษาคิดอย่างเป็นระบบ ทำให้นักศึกษาเข้าใจเนื้อหาที่เรียนมากขึ้น

วันเสาร์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

Recording Diary 12

Recording Diary 12
Science Experiences Management for Early Childhood
Ms. Jintana    Suksamran
November 6, 2557
Group 101 (Thursday)
Time  08.30 - 12.20 PM.

content (เนื้อหา) 
                การเรียนการสอนในวันนี้นำเสนอการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอแผนการสอนของตนเองตามหน่วยที่แต่ละกลุ่มได้วางแผนกันไว้ มีดังนี้

กลุ่ม 1 หน่วยกล้วย
                สอนเด็กเรื่องชนิดของกล้วย ดูรูปทรง จำแนกสีเหลืองกับที่ไม่ใช่สีเหลือง จำแนกกล้วยน้ำว้า กับที่ไม่ใช่กล้วยน้ำว้า



กลุ่ม 2 หน่วยไก่
                สอนเรื่องลักษณะของไก่ โดยครูใช้คำถามปลายเปิดถาม เด็กๆเช่น มีสีอะไรบ้าง มีขนาดเท่าไหร่ หรือส่วนประกอบขิงไก่มีอะไรบ้างง เป็นต้น เพื่อให้เด็กสามารถบอกลักษณะ บอกกว่าเปรียบเทียบ ของไก่ได้



กลุ่ม 3 หน่วยกบ
                สอนเรื่องวัฏจักรของกบ โดยเปิดวีดีโอเกี่ยวกับวัฏจักรของกบให้เด็กดูแล้วอาจจะถามเด็กว่าเด็กๆเห็นอะไรจากวีดีโอบ้าง กบมีสีอะไร หรือเด็กๆเคยเห็นกบที่ไหนบ้าง เป็นต้น



กลุ่ม 4 หน่วยปลา 
นำเรื่องด้วยนิทานที่ให้คติเตือนใจ เนื้อเรื่องนิทานเล่าถึงประโยชน์ของปลาและการกินปลาที่มีพิษ เช่น ปลาปักเป้า  ปลาทู  ปลานิล บอกประโยชน์และโทษของปลาให้กับเด็ก นำเสนอตารางเปรียบเทียบประโยชน์และข้อจำกัดของปลา โดยให้เด็กตอบแล้วครูก็นำมาแปะเพื่อทวนความจำของเด็ก






ปลาที่มีพิษ


กลุ่ม 5 หน่วยข้าว
                สอนโดยทำทาโกยากิให้เด็กดู บอกสวนผสม แล้วให้เด็กช่วยทำ หรือหยิบส่วนผสมด้วย จากนั้นให้ครูและเด้กๆร่วมสรุปกิจกรรมร่วมกัน





กลุ่ม 6 หน่วยตนไม้
                สอนโดยครูให้เด็กๆ แผนภาพ แล้วครูใช้คำถามปลายเปิด โดยใช้เกณฑ์ในการจำแนก เช่น จำแนกต้นเข็ม กับที่ไม่ใช่ตนเข็ม หรือการนับจำนวน และบอกค่ามากกว่า น้อยกว่า เป็นต้น




กลุ่ม 7 หน่วยนม
                สอนเรื่องลักษณะของนม โดยให้เด็กๆทำการทดลองหยดน้ำยาล้างจานลงไปในนม และสีผสมอาหาร




กลุ่ม 8 หน่วยน้ำ
เข้าสู่บทเรียนด้วยการร้องเพลง อย่าทิ้ง อาจารย์ช่วยปรับปรุงเนื้อร้องใหม่ เป็น
อย่าทิ้ง อย่าทิ้ง อย่าทิ้ง    แม่น้ำจะสกปรก
ถ้าเราเห็นใครทิ้ง              รีบเตือน รีบเตือน
เข้าสู่ขั้นสอนด้วยการเล่านิทาน เรื่อง หนูนิด โดยการสอดแทรกการทิ้งขยะไม่เป็นที่อาจารย์ให้คำแนะนำควรจะมีรูปภาพ และให้เด็กได้เห็นการอนุรักษ์น้ำมากกว่านี้ ให้เด็กๆ ทำป้ายอย่าทิ้งขยะลงแม่น้ำเพื่อบูรณาการเข้ากับวิชาศิลปะสร้างสรรค์




กลุ่ม 9 หน่วยมะพร้าว
                สอนเรื่องการปลูกต้นมะพร้าว แล้วให้เด็กๆนำแผนภาพมาเรียงลำดับขั้นตอนหารปลูกมะพร้าว



กลุ่ม 10 หน่วยผลไม้

สอนการประกอบอาหารเริ่มขั้นนำจาก เพลง ตรงไหมจ๊ะ ครูบอกอุปกรณ์และส่วนผสมต่างๆ ให้เด็กๆ สังเกตการละลายของเนยและเมื่อนำผลไม้ไปคลุก ผลไม้จะนิ่มขึ้น อาจารย์แนะนำว่า ควรจะแบ่งเป็น 5 โต๊ะ (หากมีครูผู้ช่วย) 


Teaching methods (วิธีการสอน)
                - การเรียนรู้ด้วยตนเอง
                - สรุปความรู้ด้วนตนเอง
                - การสอนโดยใช้คำถาม
                - การนำเสนอ
                - ลงมือปฏิบัติจริง
                - สอนกระบวนการคิด
                - สอนแบบแก้ปัญหา

Benefits (ประโยชน์ที่ได้รับ)

1. ทำให้ผู้สอนสอนด้วยความมั่นใจเมื่อเกิดความมั่นใจในการสอนย่อมจะสอนด้วยความแคล่วคล่อง

2. ทำให้การสอนบรรลุผลอย่างมีประสิทธิภาพดีกว่าการสอนที่ไม่มีการวางแผน

3. ทำให้ผู้สอนมีเอกสารเตือนความจำ สามารถนำมาใช้เป็นแนวทางในการสอนต่อไป

4. ทำให้ผู้เรียนเกิดเจตคติที่ดีต่อผู้สอนและต่อวิชาที่เรียน ทั้งนี้เพราะผู้สอน สอนด้วยความพร้อม


Evaluation (การประเมินผล)

ประเมินตนเอง   
มาก่อนเวลาเรียน ตั้งใจฟังอาจารย์อธิบาย และร่วมทำกิจกรรม ฟังการนำเสนอแผนการสอนของเพื่อนๆ มีการจดบันทึก ถ่ายรูปกิจกรรมต่างๆระหว่างเรียน
ประเมินเพื่อน    
ตั้งใจฟังที่อาจารย์อธิบาย และนำเสนอแผนของตนเองที่หลากหลาย แต่จะมีข้อผิดพลาดบ้าง อาจารย์ก็ได้ให้คำแนะนำ ไปในส่วนของกิจกรรม อาจจะมีการคุยดันบ้างเล็กน้อย
ประเมินผู้สอน   
อธิบายได้ดีมาก มีการร่วมทำกิจกรรมกับนักศึกษา และได้ให้คำแนะนำว่าในการเขียนแผนการสอนที่ดีนั้นควรทำอย่างไร มีการย้ำความจำเพื่อให้เด็กจำได้ และมีการใช้คำถามให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการคิด