(=^ェ^=) Welcome to the blog of Ms.Sangrawee Songtrai (=^ェ^=)
คลิกที่รูป เพื่อเอาโค้ดรูปนี้ไปแปะ

วันอาทิตย์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2557

Recording Diary 10

Recording Diary 10
Science Experiences Management for Early Childhood
Ms. Jintana    Suksamran
October 18, 2557
Group 101 (Thursday)
Time  08.30 - 12.20 PM.

** วันนี้ วันเสาร์ ที่ 18 ตุลาคม 2557 มีการเรียนชดเชย ของวัน พฤหัสบดี ที่ 23 ตุลาคม 2557 (วันปิยมหาราช) ซึ่งเป็น วันหยุดราชการ **

content (เนื้อหา) 
                การเรียนการสอนวันนี้ อาจารย์ให้เพื่อนแต่ละกลุ่มล่างแผนการสอน หน่วยการสอนของแต่ละกลุ่มมา 5 วัน รายละเอียดต่างๆอาจารย์ได้อภิปราย ร่วมกันในชั้นและ และให้กลับไปคุยกันในกลุ่มว่า จะเขียนแผนในการจัดประสบการณ์ให้กับเด็กแบบไหน ถึงจะสอดคล้องกับวิทยาศาสตร์ ได้มากที่สุด ในกิจกรรมก็จะมีการทดลอง หรือสิ่งประดิษฐ์ ก็ขึ้นอยู่กับเนื้อหาในแต่ละกลุ่ม แล้วไว้มาคุยรายละเอียดอีกทีในสัปดาห์ต่อไปอย่างละเอียดและถูกต้องตามหลักการ  ส่วนกลุ่มของดิฉัน ทำเรื่อง หน่วยน้ำ โดยมีการให้ความรู้เรื่องแผนการสอน ดังนี้





กิจกรรม   ขั้นนำ        - เพลง / คำคล้องจอง / ใช้คำถาม / นิทาน / เล่นเกม
                 ขั้นสอน     - กิจกรรม
                 ขั้นสรุป     - ครูและนักเรียนสรุปองค์ความรู้ ที่ได้จากการทำกิจกรรม

 คุณลักษณะ 
1.            เด็กบอกลักษณะสี รูปทรง
2.            เด็กเปรียบเทียบลักษณะ
3.            เด็กตอบคำถาม
4.            เด็กร้องเพลง
5.            เด็กวาดรูป
6.            เด็กแสดงให้ดูได้
7.            เด็กใช้แผนภูมินำเสนอชิ้นงาน  
8.            เด็กสังเกตความเหมือนต่าง

การวัด
1.            เด็กบอกวิธีการดูแล
2.            เด็กร้องเพลง  
3.            เด็กเปรียบเทียบสี
4.            ลักษณะ บอกความเหมือนต่างๆ
5.            ใช้เครื่องมือในการ  นำเสนอ

ชนิด
คณิต นับและบอกจำนวน / สัญลักษณ์แทนตัวเลข
ภาษา สนทนาโต้ตอบ / บอกลักษณะ / ฟังและบอกชนิด / วาดรูป / เล่าเรื่อง
วิทยาศาสตร์ สังเกต / บอกชื่อ / บอกรูปร่าง
เกมการศึกษา จับคู่ภาพเหมือน
เคลื่อนไหวและจังหวะ กิจกรรมกลางแจ้ง
เล่นเสรี - กิจกรรมตามมุมต่างๆ
ศิลปะ เล่าเรื่องวาดภาพ ระบายสี

Teaching methods (วิธีการสอน)
             - การสอนโดยใช้คำถาม
             - สอนแบบกระบวนการคิด
             - การเรียนรู้ด้วยตนเอง

Benefits (ประโยชน์ที่ได้รับ)
1. ช่วยให้มีคู่มือการสอนที่ทำด้วยตนเองล่วงหน้ามีความมั่นใจในการสอน
2.  ทำให้เขียนแผนการสอนเป็น เพื่อนนำไปสอนในอนาคต
3.  ทำให้เราเห็นวัตถุประสงค์ในการสอนเด็กที่ชัดเจนเข้าใจ
4.  ในด้านของหลักสูตร วิธีสอนการวัดผลและประเมินผล

Evaluation (การประเมินผล)
ประเมินตนเอง 
มาเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบเรียบร้อย ตั้งใจเรียนมีการจดบันทึกในการฟังที่อาจารย์บรรยาย วางรองเท้าหน้าห้องอย่างเป็นระเบียบ และร่วมสนทนาในการระดมความคิดในการเขียนแผนการจัดประสบการณ์
ประเมินเพื่อน 
มาเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย มีการจดบันทึก ตั้งใจเรียน และแสดงความคิดเห็นร่วมกันในเรื่องของหน่วยตนเอง
ประเมินผู้สอน 

อาจารย์สอนอย่างละเอียด อธิบายเนื้อหาและร่วมหาคำตอบไปพร้อมกับนักศึกษา มีการพูดซ้ำๆเพื่อให้นักศึกษาจำได้ ถ้าไม่เข้าใจสามารถยกมือถามอาจารย์ได้ แล้วอาจารย์จะให้คำแนะนำเป็นรายกลุ่มอย่างละเอียดอีกครั้ง

Recording Diary 9



Recording Diary 9
Science Experiences Management for Early Childhood
Ms. Jintana    Suksamran
October 16, 2557
Group 101 (Thursday)

Time  08.30 - 12.20 PM.

นำเสนอสิ่งประดิษฐ์วิทยาศาสตร์
สิ่งประดิษฐ์ ปั้มน้ำจากหลอด
อุปกรณ์
1.             หลอดดูดน้ำ
2.             กรรไกร
3.             แก้วน้ำพลาสติก
4.             สก็อตเทป
5.             น้ำ
วิธีทำ
1.             นำหลอดดูดน้ำ เจาะกลางหลอดด้วยไม้เสียบลูกชิ้น
2.             จากนั้นวัดด้านข้างจากไม้เสียบ ประมาณด้านละสองนิ้ว ตัดขอบหลอดออกเล็กน้อย
3.             พับปลายหลอดขึ้นด้านบน ตรงปลายไม้เสียบลูกชิ้น ให้เป็นรูปสามเหลี่ยม
4.             พันด้วยสก็อตเทป
5.             นำไปเสียบในน้ำ เมื่อหมุนไปมา จะสังเกตได้ว่า มีน้ำออกจากรูที่ตัดทั้งสองข้าง



สรุปผลการทดลอง
         เมื่อเราหมุนแรงมากเท่าไร น้ำก็จะออกมาจากปลายหลอดทั้ง 2 ข้างมากเท่านั้น เพราะการที่เราหมุนจะทำให้มีแรงเหวี่ยง ดังนั้น น้ำก็จะเข้าไปในหลอดแทนที่อากาศที่อยู่ในหลอด
วิธีการสอน
-                   การนำเสนองาน
-                   การยกตัวอย่างสิ่งประดิษฐ์ให้สอดคล้องกับวิทยาศาสตร์
-                   การเรียนรู้ด้วยตนเอง
-                   การสอนแบบการใช้คำถาม
-                   การเรียนรู้ด้วยตนเอง
-                   การใช้คำถามปลายเปิด
ประโยชน์ที่ได้รับ
-                   พัฒนาความมั่นใจ การกล้าแสดงออก กล้าคิด
-                   พัฒนาจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์
-                   ส่งเสริมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยการนำเอาของที่เหลือหรือของที่ใช้แล้วนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้ใหม่
ประเมินตนเอง
         เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ เตรียมความพร้อมในการนำเสนอ จัดโต๊ะเป็นรูปตัวยูก่อนที่อาจารย์จะเข้าสอน
ประเมินเพื่อน
         เพื่อนเข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ ตั้งใจเรียน มีความคิดสร้างสรรค์ในการคิดประดิษฐ์ที่หลากหลาย แต่อาจจะมีบ้างที่คุยกัน และคนที่ตั้งใจฟังการนำเสนอสิ่งประดิษฐ์
ประเมินอาจารย์
         เข้าสอนตรงเวลา พูดชัดถ่อยชัดคำ ฟังแล้วเข้าใจง่าย มีการพูดย้ำ ทวนความรู้เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจมากขึ้น และคอยแนะนำในการนำเสนอสิ่งประดิษฐ์ให้สอดคล้องกับวิทยาศาสตร์




                                                                                    



วันเสาร์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2557

Recording Diary 8


Recording Diary 8
Science Experiences Management for Early Childhood
Ms. Jintana    Suksamran
October 9, 2557
Group 101 (Thursday)
Time  08.30 - 12.20 PM.

** วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากเป็น “วันออกพรรษา” และมีการสอบกลางภาค






                                                               



วันเสาร์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2557

Recording Diary 7



Recording Diary 7
Science Experiences Management for Early Childhood
Ms. Jintana    Suksamran
October 2, 2557
Group 101 (Thursday)
Time  08.30 - 12.20 PM.

       วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษานั่งตามเลขที่ เพื่อที่จะไม่ให้นักศึกษาคุยกัน หลังจากนั้นอาจารย์ได้ให้นักศึกษาประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์จากแกนทิชชู

อุปกรณ์
1.            แกนทิชชู
2.            กระดาษสี
3.            กรรไกร
4.            ปากกา , ดินสอ  (ตกแต่ง)
5.            กาไก่
6.            ไหมพรหม
7.            กาว

ขั้นตอนการทำ
1.            เตรียมอุปกรณ์



2.            ตัดแกนทิชชูแบ่งครึ่งให้เป็น 2 ชิ้น



3.            ตัดรูปวงกลมให้เท่ากันแกนทิชชู



4.            ตัดไหมพรหมให้ได้ ประมาณเท่าชายของแขนเสื้อ หรือประมาณ 1 วา



5.            ใช้กาไก่เจาะทั้ง 2 ข้างของแกนทิชชู



6.            วาดรูปลงในวงกลมที่ตัดไว้



7.            เอาไหมพรหมร้อยไปที่รูที่เจาะไว้ให้ครบทุกรูแล้วมัดปลายเชือก



8.            เอารูปติดไว้ข้างหน้าของแกนทิชชู




การทดลอง
       เอาสิ่งที่ประดิษฐ์ฆ้องคอ แล้วให้ชักแกนทิชชูขึ้นลง โดยการที่ใช้มือจับไหมพรหมทั้ง 2 ขั้น แล้วดึกออก หรือกางออกให้เป็นสามเหลี่ยม

วิธีการสอน
            อาจารย์สอนโดยการใช้คำถาม เพื่อให้นักศึกษาได้คิด เกิดกระบวนการวิเคราะห์ และได้รู้จักการสังเกตการเคลื่อนที่ของวัตถุ ตอนที่ทำกิจกรรม อาจารย์ยังไม่ได้บอกอะไรมากมายนอกจากการบอกว่ามีอุปกรณ์อะไรบ้างและขั้นตอนการทำสิ่งประดิษฐ์ หลังจากนั้นอาจารย์ก็ถามว่า สิ่งที่ประดิษฐ์นี้มันคืออะไร พลังงานที่ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวคืออะไร และทำยังไงให้แกนทิชชูขึ้นได้ การเคลื่อนไหวเกิดจากการส่งพลังงานที่มีการถ่ายทอด พอทำปุ๊บ “มันจะเกิดอะไรขึ้น และทำมันขึ้นได้อย่างไร ไหนลองทำดู  แล้วก็ทดลองทำ”  ทดลองครั้งแรกอาจจะไม่ขึ้น แต่บางคนขึ้น ทำเกิดการสังเกต และการเปรียบเทียบ และหาข้อเท็จจริงว่าทำไมมันถึงขึ้น และทำอย่างไรให้วัตถุมันเคลื่อนที่ คือ พลังงานจล เกิดทักษะกระบวนการสังเกต การลงมือกระทำ ลงมือปฏิบัติ ต้องให้สอดคล้องกับวิธีการเรียนรู้ ลงมือกระทำค้นพบความรู้ด้วยตนเองเปรียบเทียบกับเพื่อน และได้ลงมือปฏิบัติ          
                                                      
นำเสนอบทความ
16.     สอนเด็กปฐมวัยเรียนวิทย์จาก “เป็ด” และ “ไก่”  Click
17.     จุดประกายเด็กคิดนอกกรอบสนุกคิดกับสิ่งประดิษฐ์วิทยาศาสตร์   Click 
18.     ส่งเสริมกระบวนการคิดจากเด็ก    Click
19.     สอนลูกเรื่องปรากฏการณ์ธรรมชาติ (Nataral Phenomena)     Click
20.     สอนลูกเรื่องอากาศ    Click

ประโยชน์ที่ได้รับ
-                   สามารถนำสิ่งประดิษฐ์มาปรับใช้กับเด็กได้อย่างเหมาะสมกับวัยและพัฒนาการของเด็ก
-                   จากการที่เราได้ลงมือประดิษฐ์ ชินงานเอง จำทำให้เราได้รู้ถึงปัญหา และการแก้ปัญหา เพื่อที่จะนำไปสอนเด็กได้อย่าสมบูรณ์ ที่สุด
-                   สอนเด็กแบบเปิดโอกาสให้เด็กได้รวมแสดงความคิดเห็น จัดการเรียนการสอนให้เด็กๆสืบเสาะหาความรู้ด้วยตนเอง และให้เด็กได้เรียนรู้ลงมือทำด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5
-                   สามารถนำสิ่งที่อาจารย์สอนเรื่องการพูดไปใช้ในการเป็นครูปฐมวัยได้  เช่นต้องพูดชัดเจน และต้องมีอ้างอิง

ประเมินตนเอง
       มาเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ ร่วมตอบคำถามและแสดงความคิดเห็นกับอาจารย์ และมีการจดบันทึกเนื้อหา
ประเมินเพื่อน 
       เพื่อนส่วนใหญ่เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ  และมีการแสดงความคิดเห็น
ประเมินอาจารย์ 
       อาจารย์มาสอนตรงเวลา แต่กายถูกระเบียบ พูดชัดถ้อยชัดคำ และสอนให้นักศึกษาคิดอย่างเป็นระบบ และทำให้นักศึกษาเข้าใจเนื้อหาที่เรียนมากขึ้น


                                                            



วันพุธที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2557

Recording Diary 6



Recording Diary 6
Science Experiences Management for Early Childhood
Ms. Jintana    Suksamran
September 25, 2557
Group 101 (Thursday)
Time  08.30 - 12.20 PM.

         วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาทำกิจกรรมโดยที่อาจารย์แจกกระดาษสีชมพูให้คนละ 1 แผ่น เพื่อให้นักศึกษาทดลองทำกิจกรรม

อุปกรณ์
1.            กรรไกร
2.            กระดาษ
3.            คลิปหนีบกระดาษ


ขั้นตอน
1.            พับครึ่งกระดาษให้เท่ากัน
2.            ใช้กรรไกรตัดตรงกลางตามแนวยาว 1 ใน 4 ส่วน ของกระดาษ
3.            พับกระดาษอีกด้านขึ้นมาประมาณครึ่งเซน
4.            เอาคลิปหนีบกระดาษ หนีบไว้ตรงที่พับครึ่งเซน

การทดลอง
    อาจารย์ให้แถวที่ 1-2 ออกไปโยนจะเห็นได้ว่า การหมุด จะหมุนดี เพราะมีแรงต้านทานมาก การตดลงสู่พื้นก็จะช้า ส่วนแถวที่ 3-4 ออกไปโยนจะเห็นได้ว่า การหมุนจะไม่ค่อยดี เพราะมีแรงเสียดทานน้อยการแถวที่ 1-2  การตกลงสู่พื้นจะเร็วมาก สังเกตได้จากการตัดกระดาษ แถวที่ 1-2 จะตัดกระดาษครึ่งหนึ่งของกระดาษที่มีอยู่ แต่ แถวที่ 3-4 จะตัดแค่ 1 ใน 4 ส่วนของกระดาษ ฉะนั้นแรงต้านทานของแถวที่ 1-2 จะมีมากกว่าแถวที่ 3-4
       หลังจากนั้น อาจารย์ได้ให้นักศึกษาทุกกลุ่มส่ง Mind Map ที่แต่ละกลุ่มทำ และอาจารย์ยังได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการทำ Mind Map อีกด้วย เวลาเขียน ต้องเนียนวนไปทางขวามือ เรียงหัวข้อสำคัญๆก่อน และอาจารย์ยังได้ให้ข้อมูลสำหรับการไปแก้ไข



กลุ่มของดิฉันทำเรื่อง "น้ำ"


ปรับปรุงแก้ไขแล้ว



วิธีการสอน
       อาจารย์สอนแบบใช้คำถาม เพื่อให้นักศึกษาได้เกิดกระบวนการคิด วิเคราะห์ และรู้จักวิธีการสังเกต การเปรียบเทียบ โดยที่ตอนการทำกิจกรรม อาจารย์ยังไม่ได้บอกอะไรกับนักศึกษา อาจารย์บอกแค่วิธีการทำส่งประดิษฐ์เท่านั้น หลังจากนั้นก็ให้นักศึกษาแต่ละแถวออกไปทำให้เพื่อนๆในห้องดูว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นตอนที่ระหว่างการโยนกระดาษ เพื่อให้เพื่อนสังเกตและเกิดการตั้งคำถาม หลังจากทำกิจกรรมเสร็จ อาจารย์ก็ได้อธิบายรายละเอียดให้ฟัง และอธิบายเกี่ยวกับแผนการจัดประสบการสำหรับเด็กปฐมวัย และนำไปปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น

นำเสนอบทความ
11.    แสงกับชีวิตประจำวัน
12.    เงามหัศจรรย์ต่อสมอง
13.    สอนลูกเรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
14.    วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
15.    การทดลองทางวิทยาศาสตร์

ประโยชน์ที่ได้รับ
-                   สามารถนำความรู้ที่ได้ไปปรับ ประยุกต์ใช้ในอนาคตได้
-                   จากการประดิษฐ์ทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์และสามารถนำกิจกรรมนี้ไปสอนเด็กปฐมวัยในอนาคตได้

ประเมินตัวเอง
       เข้าเรียนตรงต่อเวลา และแต่งกายถูกระเบียบ ตั้งใจทำสิ่งประดิษฐ์ และสังเกตการณ์โยนของสิ่งที่ประดิษฐ์ ฟังอาจารย์อธิบายเนื้อหาและจดบันทึก
ประเมินเพื่อน
       วันนี้เพื่อนๆ ตั้งใจทำกิจกรรมที่อาจารย์เตรียมมาให้ และแต่งกายถูกระเบียบ เข้าเรียนตรงต่อเวลา
ประเมินอาจารย์
       วันนี้อาจารย์เตรียมความพร้อมในการสอนนำสื่ออุปกรณ์ต่างๆ มาให้นักศึกษา อาจารย์ยังให้รายละเอียดและสรุปบทความของเพื่อนให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น อาจารย์แต่งกายสุภาพเรียบร้อย