(=^ェ^=) Welcome to the blog of Ms.Sangrawee Songtrai (=^ェ^=)
คลิกที่รูป เพื่อเอาโค้ดรูปนี้ไปแปะ

วันจันทร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2557

Recording Diary 16

Recording Diary 16
Science Experiences Management for Early Childhood
Ms. Jintana    Suksamran
December 4, 2557
Group 101 (Thursday)
Time  08.30 - 12.20 PM.

content (เนื้อหา)
นำเสนอวิจัยเรื่องสุดท้าย นางสาวสิรินดา  สายจันทร์
วิจัยเรื่อง การส่งเสริมทักษะวิทยาศาสตร์ การลงสรุปสำหรับเด็กปฐมวัย  //  ผู้วิจัย นงลักษณ์ บุญระชัยสวรรค์
กิจกรรม ไข่หมุน
-      ไข่ต้มสุก
-       ไข่ดิบ
ทักษะวิทยาศาสตร์
-        การสังเกต
-        การเปรียบเทียบ
  กิจกรรมในวันนี้
อาจารย์แจกกระดาษ A4 และให้นักศึกษาจับกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน ให้ลองทำแผ่นพับ หรือข่าวประชาสัมพันธ์ถึงผู้ปกครอง เรื่องของการการขอความร่วมมือจากผู้ปกครองระหว่างโรงเรียนเพื่อเป็นการส่งเสริมให้ เด็กได้เกิดกระบวนการเรียนรู้จากการทำกิจกรรม  และเพื่อเป็นการสานสัมพันธ์ระหว่างบ้านกับโรงเรียน
เนื้อหาในแผ่นพับมีดังนี้
1.            หน้าปก
-                   สัญลักษณ์ของโรงเรียน
-                   ชื่อของโรงเรียน
-                   ชื่อหน่วย , ภาพ
-                   ชื่อนักเรียน
-                   ชื่อครูประจำชั้น
2.            เนื้อหาด้านใน
-                   ข่าวประชาสัมพันธ์
-                   วัตถุประสงค์
-                   สาระการเรียนรู้
-                   ขอความร่วมมือจากผู้ปกครอง
-                   สื่อที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรม (เพลง , นิทาน , เกม , คำคลองจอง)
3.            ด้านหลัง
-                   เกม ที่เกี่ยวข้องกับหน่วย 



Teaching methods (วิธีการสอน) 
1.            การสอบแบบรายกลุ่ม
2.            การสอนแบบร่วมมือ
3.            การสอนด้วยการลงมือปฏิบัติจริง
4.            การสอนแบบการแสดงความคิดเห็น
5.            การสอนการใช้คำถามทางการคิดวิเคราะห์สังเคราะห์ 

Benefits (ประโยชน์ที่ได้รับ)
1.            ได้ทักษะในการที่จะเขียนแผ่นพับเพื่อขอความร่วมมือจากผู้ปกครองเพื่อที่จะนำ สิ่งของ หรือของเหลือให้มาเพื่อทำการทดลองในหน่วยการเรียนต่างๆ
2.            ในเนื้อหาสาระในแผ่นพับควรจะตั้งวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายไว้ให้ชัดเจนว่าเด็กจะได้อะไรจากการทดลองหรือการทำกิจกรรมนี้
3.            เราควรมีเกมหรือเพลงไว้ในแผ่นพับเพื่อที่จะสานสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครองกับลูกเกมที่เกี่ยวกับวิทายาศาสตร์

Evaluation (การประเมินผล)
ประเมินตนเอง 
เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย วางรองเท้าหน้าห้องอย่างเป็นระเบียบ และมีการแสดงความคิดเห็นในการทำงานเรื่องแผ่นพับ
ประเมินเพื่อน                          
เพื่อนเข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายถูกระเบียบ ตั้งใจเรียน และแสดงความคิดเห็นร่วมกัน ช่วยกันแสดงความคิดเห็นในการทำงาน ในการวางแผน การแก้ปัญหา การคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์มาใช้ในการทำงานอย่างเกิดประสิทธิภาพมากขึ้น
            ประเมินอาจารย์ 
            อาจารย์เข้าสอนตรงต่อเวลา แต่กายถูกระเบียบ พูดชัดถ้อยชัดคำ อธิบายเนื้อหาและร่วมหาคำตอบไปพร้อมกับนักศึกษา ให้คำแนะนำ ในการที่เราจะทำแผ่นพับเพื่อขอความร่วมมือจากผู้ปกครองในการทำกิจกรรมนั้น ๆ ได้

วันอาทิตย์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2557

สรุปเรื่องอากาศ

         การหมุนเวียนอากาศตามธรรมชาติ
       ในการออกแบบอาคารโดยคำนึงถึงสภาพแวดล้อม เ้ป้าหมายแรกที่ต้องบรรลุผลคือการหมุนเวียนอากาศตามธรรมชาติซึ่งจะช่วยลด ความต้องการใช้เครื่องปรับอากาศให้น้อยลง จึงช่วยประหยัดพลังงานที่จำเป็นต้องใช้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่มีอากาศร้อน
ยิ่งกว่านั้น การหมุนเวียนอากาศตามธรรมชาติจะทำให้เกิดภาวะการทำความเย็นช่วงกลางคืนให้ กับอาคาร เมื่อมลพิษต่างๆ ถูกกำจัดให้ลดลง อากาศร้อนและอากาศไม่บริสุทธิ์ถูกไล่ออกไปจากอาคาร การทำความเย็นจากกลางคืนจะช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพในการหายใจ การดมกลิ่น และสร้างสภาพอากาศที่น่าสบายให้กับผู้อยู่ในอาศัย


       การทำความเย็นช่วงกลางคืน จะเกิดขึ้นได้โดยที่่เจ้าของบ้านไม่จำเป็นต้องอยู่ในบริเวณนั้น การตั้งเวลาให้กับระบบอัตโนมัติจึงเป็นวิธีเดียวเท่านั้นที่จะทำให้มั่นใจ ได้ว่ามีการเปิดปิดหน้าต่างให้อยู่ในระดับการทำงานที่เกิดผลสูงสุดต่ออาคาร

       ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อลักษณะภูมิอากาศของทวีปเอเชีย ได้แก่
ที่ตั้ง ดินแดนส่วนใหญ่ของทวีปเอเชียตั้งอยู่ทางซีกโลกเหนือ คือ จาก ศูนย์สูตรถึงขั้วโลกทำให้ทวีปเอเชียมีลักษณะภูมิอากาศทุกชนิด ตั้งแต่เขตร้อนถึงเขต หนาวเย็นแบบขั้วโลก
ขนาด เอเชียเป็นทวีปที่มีขนาดกว้างใหญ่มาก โดยมีเส้นศูนย์สูตร เส้นทรอปิกออฟเคนเซอร์และเส้นอาร์กติกเซอร์เคิลลากผ่าน ลักษณะเช่นนี้แสดงว่า ทวีปเอเชียมีทั้งอากาศร้อน อบอุ่น และหนาว
ความใกล้-ไกลทะเล ทวีปเอเชียมีดินแดนบางส่วนที่อยู่ติดชายทะเล จึงได้รับอิทธิพลจากทะเลแต่มีดินแดนภายในบางแห่งที่อยู่ห่างไกลจากพื้นน้ำ มาก ทำให้อิทธิพลของพื้นน้ำไม่สามารถเข้าไปถึงภายในทวีปได้อย่างทั่วถึง ภายในทวีปจึงมีอากาศรุนแรง คือ ฤดูร้อนมีอากาศร้อนจัด และฤดูหนาวอากาศหนาวจัดขณะที่บริเวณชายฝั่งทะเลมีอากาศไม่แตกต่างกันมากนัก ระหว่างกลางวันกลางคืน และระหว่างฤดูกาลต่าง ๆ
       ความสูงต่ำของพื้นที่ ทวีปเอเชียมีลักษณะภูมิประเทศสูงต่ำแตกต่างกันอย่างมาก ทำให้มีลักษณะอากาศแตกต่างกัน ทั้ง ๆ ที่อยู่ในเขตละติจูดเดียวกัน เช่น เขต ที่ราบที่เมืองเดลี อยู่ที่ละติจูด 28 องศาเหนือ ไม่เคยมีหิมะเลย แต่ที่ยอดเขาดัวลากีรี ซึ่งสูง 8,172 เมตร (26,810 ฟุต) ซึ่งอยู่ในละติจูดเดียวกันกลับมีหิมะและน้ำแข็งปกคลุมตลอดปี
       ลมประจำที่พัดผ่าน มีลมประจำหลายชนิดพัดผ่านทวีปเอเชีย ได้แก่
- ลมประจำฤดู เช่น ลมมรสุม ซึ่งมีอิทธิพลต่อทวีปเอเชียมาก เกิดจากความแตกต่างของความกดอากาศเหนือพื้นทวีปทางซีกโลกเหนือและพื้น มหาสมุทรทาง ซีกโลกใต้
- พายุหมุน เช่น ลมใต้ฝุ่น ที่ก่อตัวในมหาสมุทรแปซิฟิก พายุไซโคลน ที่ก่อตัวในมหาสมุทรอินเดีย เป็นต้น
 
       กระแสน้ำ มีน้ำเย็นโอยาชิโว ไหลผ่านชายฝั่งตะวันตกของประเทศญี่ปุ่น และชายฝั่งตะวันออกของประเทศ มีกระแสน้ำอุ่นกุโรชิโวไหลผ่าน อิทธิพลของกระแสน้ำ ทั้งสอง ทำให้ชายฝั่งตะวันออกของญี่ปุ่นมีอากาศอบอุ่นกว่าชายฝั่งตะวันตก

       การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (climate change) คือ การเปลี่ยนแปลงลักษณะอากาศเฉลี่ย (average weather) ในพื้นที่หนึ่ง ลักษณะอากาศเฉลี่ย หมายความรวมถึง ลักษณะทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับอากาศ เช่น อุณหภูมิ ฝน ลม เป็นต้น (ดูความหมายของ climate และ weather คลิ๊กที่นี่)
       ในความหมายตามกรอบของอนุสัญญาว่าด้วยการเปลี่ยน แปลงภูมิอากาศ FCCC (Framework Convention on Climate Change) การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ คือ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อันเป็นผลทางตรง หรือทางอ้อมจากกิจกรรมของมนุษย์ ที่ทำให้องค์ประกอบของบรรยากาศเปลี่ยนแปลงไป นอกเหนือจากความผันแปรตามธรรมชาติ
       แต่ความหมายที่ใช้ในคณะกรรมการระหว่างรัฐบาล ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ IPCC (Intergovernmental Panel on Climate Change) การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ คือ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ไม่ว่าจะเนื่องมาจาก ความผันแปรตามธรรมชาติ หรือกิจกรรมของมนุษย์ มนุษย์มีส่วนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศได้อย่างไร ?
       กิจกรรมของมนุษย์ที่มีผลทำให้ภูมิอากาศ เปลี่ยนแปลง คือ กิจกรรมที่ทำให้ปริมาณก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gases) ในบรรยากาศเพิ่มมากขึ้น เป็นเหตุให้ภาวะเรือนกระจก (Greenhouse Effect) รุนแรงกว่าที่ควรจะเป็นตามธรรมชาติ และส่งผลให้อุณหภูมิพื้นผิวโลกสูงขึ้น ที่เรียกว่า ภาวะโลกร้อน (Global warming) ก๊าซเรือนกระจก คืออะไร ?
       ก๊าซเรือนกระจก คือ ก๊าซที่เป็นองค์ประกอบของบรรยากาศ และมีคุณสมบัติยอมให้รังสีคลื่นสั้นจากดวงอาทิตย์ผ่านทะลุมายังพื้นผิวโลก ได้ แต่จะดูดกลืนรังสีคลื่นยาวช่วงอินฟราเรดที่แผ่ออกจากพื้นผิวโลกเอาไว้ ก๊าซเรือนกระจกที่สำคัญ และเป็นผลมาจากกิจกรรมของมนุษย์ ได้แก่ คาร์บอนไดออกไซด์ มีเธน ไนตรัสออกไซด์ ฯลฯ ภาวะเรือนกระจก คืออะไร ?
       ภาวะเรือนกระจก คือ ภาวะที่ชั้นบรรยากาศของโลกกระทำตัวเสมือนกระจก ที่ยอมให้รังสีคลื่นสั้นจากดวงอาทิตย์ผ่านลงมายังพื้นผิวโลกได้ แต่จะดูดกลืนรังสีคลื่นยาวช่วงอินฟราเรดที่แผ่ออกจากพื้นผิวโลกเอาไว้ จากนั้นก็จะคายพลังงานความร้อนให้กระจายอยู่ภายใน      บรรยากาศจึงเปรียบเสมือนกระจกที่ปกคลุมผิวโลกให้มีภาวะสมดุลทาง อุณหภูมิ และเหมาะสมต่อสิ่งมีชีวิตบนผิวโลก (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.tmd.go.th/knowledge/know_greenhouse01.html)
       ภาวะโลกร้อน หมายถึง ภาวะที่อุณหภูมิโดยเฉลี่ยของโลกสูงขึ้น ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง ภาวะโลกร้อนอาจจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของปริมาณฝน ระดับน้ำทะเล และมีผลกระทบอย่างกว้างขวางต่อพืช สัตว์ และมนุษย์ โลกกำลังร้อนขึ้นจริงหรือ ?

       ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1861 (พ.ศ. 2404) อุณหภูมิผิวพื้นเฉลี่ยของโลกสูงขึ้น และสูงขึ้นประมาณ 0.6 องศาเซลเซียส ในศตวรรษที่ 20 (จากรายงานการประเมินครั้งที่ 3 หรือ Third Assessment Report - TAR ของคณะทำงานกลุ่ม 1 IPCC)     จากการวิเคราะห์ข้อมูลในซีกโลกเหนือ ย้อนหลังไป 1,000 ปี พบว่า อุณหภูมิของโลกสูงขึ้นมากในศตวรรษที่ 20 โดยสูงขึ้นมากที่สุดในทศวรรษที่ 1990 และ ค.ศ. 1998 (พ.ศ. 2541) เป็นปีที่ร้อนมากที่สุดในรอบ 1,000 ปี 

วันอาทิตย์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

Recording Diary 15

Recording Diary 15
Science Experiences Management for Early Childhood
Ms. Jintana    Suksamran
November 27, 2557
Group 101 (Thursday)
Time  08.30 - 12.20 PM.

content (เนื้อหา)
วันนี้ให้นักศึกษาออกมานำเสนอ บทวิจัย และ VDO เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
วิจัยเรื่องที่ 1 การสร้างชุดกิจกรรม เพื่อทักษะกระบวนการทางวิทยาสาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัยทางวิทยาสาสตร์ ที่ได้รับจากวิจัยเรื่องนี้คือ การสังเกต การจำแนก การวัด และการหามิติสัมพันธ์
            วิจัยเรื่องที่ 2 ผลการจัดประสบการณ์ หน่วยเน้นวิยาสาสตร์นอกชั้นเรียน
ทักษะทางวิทยาสาสตร์ ที่ได้รับจากวิจัยเรื่องนี้คือ การสังเกต การประมาณ และการเปลี่ยนแปลง
            วิจัยเรื่องที่ 3 การคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
ทักษะทางวิทยาสาสตร์ ที่ได้รับจากวิจัยเรื่องนี้คือ การจำแนก การจัดประเภท และอนุกรม
            วิจัยเรื่องที่ 4 ผลของกิจกรรมการทดลอง (กิจกรรมเกี่ยวกับพืชต้องการแสงแดด)   
ทักษะทางวิทยาสาสตร์ ที่ได้รับจากวิจัยเรื่องนี้คือ การสังเกต การจำแนก การวัด การสื่อความหมาย การหามิติสัมพันธ์  และการลงความเห็น

การนำเสนอโทรทัศน์ครู
5.   เรื่อง เสียงมาจากไหน           
6.   เรื่อง สอนวิทย์ คิดสนุกกับเด็กปฐมวัย
7.   เรื่อง เรียนวิทยาศาสตร์สนุก
8.  เรื่อง หน่วยไฟ
9.  เรื่อง  -
10. เรื่อง  ขวดปั๊มและลิปเทียน
11.  บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เรื่อง สีของกะหล่ำปรี  
12.  บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เรื่อง พลังจิตคิดไม่ซื่อ
13.  นมสีจากน้ำยาล้างจานสำหรับเด็กปฐมวัย
14.  บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เรื่อง  ทะเลฟองสีรุ้ง
15.  สนุกคิดวิทย์ทดลอง
16.  บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เรื่อง ทอนาโดมหาภัย
17.  บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เรื่อง  ความลับของใบบัว
18.  การทดลองความแข็งของวัตถุ

Teaching methods (วิธีการสอน)
          - การเรียนรู้ด้วยตนเอง
          - การสรุปความรู้ด้วยเครื่องมือ
          - การนำเสนอ
          - การสอนโดยใช้คำถาม
          - การสอนแบบอภิปราย
          - เปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงความคิดเห็น และฝึกการกล้าแสดงออกจริง
          - การสอนแบบกระบวนการคิด

          - การสอนแบบแก้ปัญหา

      Benefits (ประโยชน์ที่ได้รับ)
1. การใช้คำสำคัญเพื่อหาบท วิจัยได้ง่ายขั้น
2. การที่เราได้ออกไปนำเสนอหน้าชั้นเรียน ทำให้เราฝึกความกล้าแสดงออกมากขึ้น 
3. การนำวิจัยมาเป็นแบบอย่างในการวิจัยชั้นเรียนในอนาคต
4.  การนำเครื่องมอการวิจัยไปใช้ในการจัดประสบการณ์ให้กับเด็กปฐมวัย

      Evaluation (การประเมินผล)
ประเมินตนเอง  
แต่งกายถูกระเบียบ เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังเพื่อนๆและมีการจดบันทึกระหว่างเรียน
ประเมินเพื่อน
เพื่อนทุกคนตั้งใจฟังการนำเสนอบทวิจัยของเพื่อน แต่จะมีข้อผิดพลาดบ้าง อาจารย์ก็ได้ให้คำแนะนำ ไปในส่วนของเนื้อหาวิจัย เราควรที่จะจับประเด็นที่สำคัญๆมาเพื่อที่จะง่ายต่อการสรุปและเข้าใจง่ายมาก ขึ้นในตัวของงานต่างๆ และเพื่อนๆ มีการตอบคำถามในชั้นเรียน อย่างดี
ประเมินอาจารย์
หลังจากที่เพื่อนได้นำเสนอบทวิจัย อาจารย์ก็ให้คำแนะนำในการหาวิจัยและการสรุปประเด็นที่สำคัญมา และอาจารย์ก็ให้นักศึกษาได้เปิดโอกาสหาความรู้ และมีการทดลองลงมือปฏิบัติจริง มีการร่วมทำกิจกรรมกับนักศึกษา และอธิบายให้นักศึกษาได้เข้าใจได้ง่ายขึ้น  และพูดซ้ำๆเพื่อให้นักศึกษาจดจำเนื้อหาได้ดียิ่งขึ้น

สรุปจากการดูVDOบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ตอน  ปาฏิหาริย์เทียนลอยได้


บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย  ตอน  ปาฏิหาริย์เทียนลอยได้ปาฏิหาริย์เทียนลอยได้

โดย น้องจากโรงเรียนเซนโยเซฟระยอง


ก่อนที่จะทำการทดลอง เราจะถามน้อง ๆ ว่า น้อง ๆ รู้จักเทียนกันไหม เทียนเป็นวงกลมแล้วเป็นยังไงอีก แล้วน้อง ๆ รู้หรือเปล่าว่าเทียนนั้นเอาไว้ทำอะไร หลังจากนั้นก็เอาเทียนไขขึ้นมาให้น้อง ๆ ดู แล้วถามน้อง ๆ ว่า ถ้าเราจะจุดเจ้าเทียนนี้เราจะใช้อะไรจุดดีนะ แล้วทำไมต้องใช้ไฟแช็ก ถ้าเราไม่ใช้ไฟแช็กเราจะใช้ไม้ขีดไฟจุดยังไง หลังจากนั้นเราจะมาทำการทดลอง



อุกปรณ์
1.            เทียนไข
      2.            ไม้ขีดไฟ
3.            แก้วน้ำ
4.            จาน
5.            น้ำแดง

ขั้นตอนการทดลอง
            วิธีที่ 1 จุดเทียนแล้วเอาแก้วคลอบเทียนไว้ เทียนจะดับ เพราะว่า เวลาที่เราจุดเทียน เราอาศัยออกซิเจนในอากาศในการจุดไฟ แต่พอเราเอาแก้วคลอบลงไป ไฟก็จะเผาไหม้ออกซิเจน และอากาศที่อยู่ภายในแก้ว ทำให้ไฟดับนั่นเอง
            วิธีที่ 2 เอาน้ำแดงใส่ลงไปในจาน แล้วจุดเทียนวางไว้บนจาน เอาแก้วคลอบเทียน ไฟก็จะดับดับเทียนจะลอยขึ้นโดยที่น้ำจะเข้าไปแทนที่อากาศ

สรุปการทดลอง

            อากาศทำให้ไฟติดได้ แล้วพอเราเอาแก้วคลอบเทียนไฟก็เลยดับ เป็นเพราะ ไฟเผาออกซิเจนในอากาศในแก้วให้หมดลงไฟ ไฟเลยดับนั่นเอง เมื่ออากาศในแก้วน้อยแรงดันอากาศในแก้วจะลดลง ซึ่งอากาศข้างนอกมีแรงดันที่มากกว่า เลยดับน้ำที่อยู่นอกแก้ว เข้าไปอยู่ในแก้วนั่นเอง เทียนก็เลยลอยได้ สาเหตุ ที่แรงดันอากาศภายในแก้วลดลง เนื่องมาจากอากาศส่วนหนึ่งภายในแก้วถูกใช้ในการเผาไหมของเทียนไขทำให้ปริมาณอากาศภายในแก้วลดลง ดังนั้น แรงดันอากาศภายในแก้วจึงลดลงด้วย อากาศที่ใช้ในการเผาไหม้ของเทียนไข ก็คือ ก๊าซออกซิเจนที่พวกเราใช้ในการหายใจนั่นเอง ออกซิเจนหรืออากาศที่มนุษย์ใช้หายใจเป็นก๊าซสำคัญที่จะทำให้ไฟติดได้ ดังนั้น เมื่อต้องการดับไฟเมื่อขณะเกิดไฟไหม้ นักดับเพลิงจะใช้อีกวิธีหนึ่ง คือ การลดปริมาณของออกซิเจนในบริเวณที่เกิดเหตุโดยการฉีดน้ำหรือสารเคมี เช่น ไนโตรเจน หรือ คาร์บอนไดรออกไซน์ เมื่อไฟไม่มีออกซิเจนในการเผาไหม้ไฟก็จะดับลงในที่สุด

วันจันทร์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

Recording Diary 14

Recording Diary 14
Science Experiences Management for Early Childhood
Ms. Jintana    Suksamran
November 20, 2557
Group 101 (Thursday)
Time  08.30 - 12.20 PM.

content (เนื้อหา)
           ส่งสิ่งประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์ แล้วแยกตามหมวดหมู่ ดังนี้ แสง เสียง ลม น้ำ พลังงาน สื่อตามมุม

เรื่อง ลม



เรื่อง เสียง

 


เรื่อง พลังงาน

 


เรื่อง แสง



เรื่อง น้ำ



สื่อเข้ามุม

 


นำเสนอบทความ

วิจัยเรื่องที่ 1 การพัฒนากระบวนการทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานของเด็กปฐมวัยโดยใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้  /  ผู้วิจัย ณัฐชุดา   สาครเจริญ  /  ผู้นำเสนอบทวิจัย น.ส.ชนากานต์   มีดวง

วิจัยเรื่องที่ 2 ผลของการบันทึกประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ที่มีผลต่อความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัย   /  ผู้วิจัย พีระพร   รัตนาเกียรติ์  /  ผู้นำเสนอบทวิจัย น.ส.สุธิดา   คุณโตนด
      
วิจัยเรื่องที่ 3 ผลของจัดประสบการณ์โดยใช้กระบวนการเสาะหาความรู้เพื่อพัฒนาทักษะการจำแนกของเด็กปฐมวัย   /   ผู้นำเสนอบทวิจัย น.ส.สุดารัตน์   สุทธิผล



การทำขนมวาฟเฟิล



ส่วนผสมและอุปกรณ์


 

ส่วนผสม
1. แป้ง   200   กรัม
2. น้ำ     120   กรัม
3. ไข่ไก่   1   ฟอง
4. เนย

อุปกรณ์
1. ถ้วยผสม
2. ที่ตีไข่
3. ช้อน
4. พิมพ์วาฟเฟิล
5. จานสำหรับใส่วัฟเฟิล




ขั้นตอนการทำวาฟเฟิล
1. นำไข่ไก่ น้ำและแป้งใส่ภาชนะผสม แล้วตีส่วนผสมให้เข้ากัน
2. หยอดแป้งลงบนพิมพ์วาฟเฟิลที่ทาเลยและร้อนดีแล้วจนเต็มพิมพ์
3. หลังจากนั้น อบประมาณ 3 4 นาที

Teaching methods (วิธีการสอน)
          - การเรียนรู้ด้วยตนเอง
          - การสอนแบบอภิปราย
          - การนำเสนอ
          - การสอนโดยใช้คำถาม
          - การสรุปความรู้ด้วยเครื่องมือ
          - ลงมือปฏิบัติ
          การสอนแบบกระบวนการคิด
          - การสอนแบบแก้ปัญหา
          - เปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงความคิดเห็น และฝึกการกล้าแสดงออกจริง

Benefits (ประโยชน์ที่ได้รับ)
1. ได้ฝึกการแสดงความคิดเห็น และฝึกการเค้ารพความคิดเห็นของผู้อื่น
2. สามารถนำไปสอนเด็กได้เนื้อจากเป็นกิจกรรมที่ลงมือปฏิบัติเอง จำทำให้เด็กมีความสนใจและเกิดการเรียนรู้มากขึ้น
3. สามารถนำความรู้ของบทวิจัยไปปรับใช้กับการสอนในอนาคตได้
4. ได้รู้จักการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม และ ได้รู้จักการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ

Evaluation (การประเมินผล)
ประเมินตนเอง
เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ ทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อนๆ ตั้งใจเรียน จดบันทึกเนื้อหาโดยสรุป ร่วมทำกิจกรรมกับเพื่อนอย่างสนุกสนาน
ประเมินเพื่อน
เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ มีความร่วมมือในการเรียนรู้และทดลอง และจดบันทึกเนื้อหาโดยสรุป มีความสนใจในการสอนของอาจารย์ และร่วมกันกิจกรรมกันอย่างสนุกสนาน
ประเมินผู้สอน
เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ให้ข้อเสนอแนะในการ และแนวทางในการจัดกิจกรรมให้กับเด็ก มีการสอนที่สนุกสนานเป็นกันเอง ไม่ดูเครียดจนเกินไป มีความพร้อมด้านสื่อการสอนต่างๆมาก